วันภาษาไทยแห่งชาติ

หมวดหมู่ของบล็อก: 

๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๕ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเป็นประธานและทรงอภิปรายเรื่อง “ ปัญหาการใช้คำไทย ” ร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิในการประชุมทางวิชาการของชุมนุมภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งทรงแสดงพระปรีชาสามารถและความสนพระราชหฤทัยห่วงใยในภาษาไทย จนเป็นที่ประทับใจผู้ร่วมประชุมครั้งนั้นเป็นอย่างยิ่ง[1] [2]

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสตอนหนึ่งความว่า

Cquote1.svg

เรามีโชคดีที่มีภาษาของตนเองแต่โบราณกาล จึงสมควรอย่างยิ่งที่จะรักษาไว้ ปัญหาเฉพาะในด้านรักษาภาษานี้ก็มีหลายประการ อย่างหนึ่งต้องรักษาให้บริสุทธิ์ในทางออกเสียง คือ ให้ออกเสียงให้ถูกต้องชัดเจน อีกอย่างหนึ่งต้องรักษาให้บริสุทธิ์ในวิธีใช้ หมายความว่า วิธีใช้คำมาประกอบประโยค นับเป็นปัญหาที่สำคัญ ปัญหาที่สาม คือ ความร่ำรวยในคำของภาษาไทย ซึ่งพวกเรานึกว่าไม่ร่ำรวยพอ จึงต้องมีการบัญญัติศัพท์ใหม่มาใช้...สำหรับคำใหม่ที่ตั้งขึ้นมีความจำเป็น ในทางวิชาการไม่น้อย แต่บางคำที่ง่ายๆก็ควรจะมี ควรจะใช้คำเก่าๆที่เรามีอยู่แล้ว ไม่ควรจะมาตั้งศัพท์ใหม่ให้ยุ่งยาก

Cquote2.svg

รัฐบาลได้ประกาศให้วันนี้เป็นวันสำคัญ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๔๒

ที่มา : http://th.wikipedia.org/wiki/วันภาษาไทยแห่งชาติ

เวบบ้านสวนพอเพียง ยังคงอยากเห็นสมาชิกใช้งานภาษาไทยอย่างถูกต้องนะครับ


ความเห็น

ส่วนตัวผมคิดว่าภาษาไทยเป็นภาษาที่สวยงามจึงควรค่าที่จะอนุรักษ์และใช้ให้ถูกต้อง ตระหนักอยู่ว่าโลกเปลี่ยนแปลงไปแต่คิดว่าภาษาก็ควรคงอยู่ซึ่งความถูกต้องด้วยเช่นกัน ส่วนวัยรุ่นที่พิมพ์ไม่ทันเลยใช้คำสั้นๆผิดแปลกไปผมว่าถ้าลองหาสาเหตุจริงๆก็คือพิมพ์ไม่ทันก็ต้องไปฝึกพิมพ์ให้คล่องและถูกต้อง

ภาษาไทยเป็นภาษาของชาติไทย เรามาร่วมรณรงค์ใช้ภาษาไทยให้ถูกกันดีกว่าครับ

ค่ะ เดี๋ยวนี้ภาษาจากวัยรุ่น จากสื่อหนังสือ จากกระแส ฯลฯ แต่ถ้าให้บอกจริงๆ ภาษาไทย


ยากพอสมควรค่ะ

 ภาษาไทยต้องครบทั้ง การพูด การเขียน การอ่าน คือการใช้หลักภาษาของไทย 


 ขออนุญาติผู้ใหญ่ วิพากษ์ หน่อยนะครับ เกี่ยวกับหลักการเรียนการสอน ที่ปัจจุบันนี้การละเลยในหลักสูตรการเรียนภาษาไทยเริ่มห่างไกลออกไปเรื่อย ๆ ยิ่งนโยบายการให้เด็กประถมใช้อุปกรณ์เทคโนโลยี เช่น แท็ปเลท ขอตั้งเป็นข้อสังเกตุ ครับ ว่า ถ้าหากเด็กในวัยประถมโดยเฉพาะ ป.1- ป.4 ปัจจุบันนี้การเขียนภาษาไทยยังถือว่าอ่อนเอามาก ๆ ครับ จะมั่นใจได้สักแค่ไหน ว่า อนาคตเด็กไทยจะยังเขียนภาษาไทยได้อย่างถูกต้อง ทั้ง พยัญชนะ 44 ตัวอักษร สระ อีกทั้งวรรณยุกต์ ต่าง ๆ เพราะหลักสูตรการกดจิ้ม นี่นะหรือ คือการอนุรักษ์ภาษาไทย .." วันภาษาไทยแห่งชาติ "

 การทำงานต้องรู้จริงทำจริงจึงประสบกับความสำเร็จ

เห็นด้วยกับคุณวรพจน์ เอียดจันทร์และรักภาษาไทย เราต้องเริ่มจากตัวเราและที่บ้านก่อนด้วยค่ะ


วันเวลาผ่านไปอะไรๆก็เปลี่ยนไป  การใช้ภาษาไทย  นักเรียนระดับประถมยังไม่เปลี่ยน  ส่วนมากวัยรุ่นจะใช้ภาษาไม่ถูกต้อง  วัยอาวุโสจะไม่ค่อยห่วง  ถ้าทุกฝ่าย(ผู้ปกครอง  นักเรียน/นักศึกษา ครูบาอาจารย์  และประชาชน  โดยเฉพาะนักแสดง หนังสือพิมพ์)สมควรร่วมด้วยช่วยกัน

ผู้ใหญ่ครับ ผมยินดีร่วมอนุรักษ์และใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้อง
หากข้อความของผมพิมพ์ไม่ถูกต้อง ก็ขออภัยและเตือนได้เลยนะครับ
ขอบคุณครับ

 

หน้า