เล่าสู่กันฟัง เรื่องของมะเดื่อ ตอน ลูกกรวด กะโผ๊ะ

หมวดหมู่ของบล็อก: 

 

     Laughing สวัสดีครับทุกท่าน วันนี้เอาเรื่องของไม้ที่ชื่อว่า “มะเดื่อ” มาเล่าสู่กันฟัง หลายคนเคยได้ยิน “ มะเดื่อมันไม่ค่อยดีเพราะมีแมงหวี่เข้าไปอยู่ข้างใน ” จะดีหรือไม่ดีก็แล้วแต่มุมมองของแต่ละคน ที่แน่ๆ มะเดื่อมีหลายชนิด บางชนิดกำลังจะสูญพันธุ์ จากการทำลายของมนุษย์เรา เพราะใช้พท.เพื่อปลูกพืชเศรษฐกิจแย่งที่อยู่อาศัยของไม้ในธรรมชาติ อาจมองว่ามะเดื่อไร้ประโยชน์ไม่ได้ใช้สอย หรือกินไม่ได้ จะด้วยเหตุผลอันใดก็แล้วแต่ นับวันมะเดื่อก็จะเหลือน้อยลงทุกที

   มะเดื่อ เป็นไม้ประเภทไม้เนื้ออ่อน มีข้อปล้อง มีหลายสายพันธุ์ ส่วนใหญ่ผลกินได้ ผลอ่อนของมะเดื่อบางชนิดกินเป็นผักเคียงคู่กับเมนูอาหารบางเมนู บางชนิดกินผลสุกเป็นผลไม้ บางชนิดไม่นิยมกินแต่ปลูกประดับเพื่อความสวยงาม

   มีมะเดื่อต้นไหนบ้างที่นำมาเล่าวันนี้ ติดตามกันต่อครับ

  ลูกกรวด

  

   ไม้ต้นนี้ผมเห็นครั้งแรกที่ทางขึ้นน้ำตกนกรำ จ.พัทลุง

http://www.bansuanporpeang.com/node/15658

  หลังจากนั้นจนบัดนี้ผมก็ไม่เคยเห็นต้นโตๆที่มีผลแบบนี้อีกเลย เจอแต่ต้นเล็กครั้งหนึ่งที่บ้านผญ.โสทร บัดนี้คงโตและอาจมีลูกแล้วก็ได้ มะเดื่อที่ชื่อลูกกรวดนะ ไม่ใช่ผญ.โสทร ฝากข่าวถามหน่อยที่ให้หาให้ผมสักต้นนั้น หาได้แล้วยังครับ

  สำหรับชื่อเรียกมะเดื่อต้นนี้ ก็ยังไม่ชัดเจน คนพัทลุง คนนครศรีฯเรียกลูกกรวด ค้นหาข้อมูลทั่วไปก็ไม่มี ผมจึงขอเรียก ”ลูกกรวด” ตามที่ได้ยินมาก็แล้วกัน ส่วนรายละเอียดอื่นๆท่านใดเคยสัมผัสเคยรู้จัก หรือมีข้อมูล นำมาเพิ่มเติมได้ครับ อ้อ เกือบลืม ผลสุกกินได้ครับ เขาว่ามา

  ส่วนภาพด้านล่าง จะเป็นมะเดื่อชนิดเดียวกันหรือไม่ ขออนุญาตนำมาอ้างอิงครับ เพราะเห็นว่ารูปลักษ์ใกล้เคียงกัน

ที่มาของภาพ http://akkarakitt.exteen.com/20091211/episode-ix

    ต้นต่อไป

   โผ๊ะ,โพ๊ะ,กะโผ๊ะ

 

  ไม้ต้นนี้ผมนำต้นเล็กๆมาจากป่า เอามาปลูกไว้ในสวนเมื่อนานมาแล้ว กะโผะ,กะโผ๊ะ ถ้าค้นจากกูเกิ้ลก็จะเจอแต่คำลงท้ายนามสกุลของบุคคล ถ้าค้นในบ้านสวนพอเพียงก็จะเจอhttp://www.bansuanporpeang.com/node/11872,,,และอื่นๆอีกเล็กน้อย

 

  ลองค้นดูจากหนังสือพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ฉบับเก่า ฉบับใหม่พุทธศักราช๒๕๕๔ก็ไม่มี แม้แต่พจนานุกรมภาษาถิ่นใต้ พุทธศักราช๒๕๕๐ ก็ไม่มี นักพฤกษศาสตร์เขาให้ชื่อไว้ว่าอย่างไรหนอ หรือตกสำรวจละเจ้ามะเดื่อที่ชื่อว่า กะโผ๊ะ เพราะฉะนั้นงานนี้ทั้งต้นลูกกรวด ทั้งต้นกะโผ๊ะข้อมูลทางพฤกษศาสตร์จึงไม่มีไปโดยปริยาย

 

  ถ้าถามว่าทำไมผมจึงเอามาปลูกล่ะ ตอบง่ายๆครับ ผลอ่อนขนาดนิ้วโป้ง สดๆจิ้มน้ำพริกครับ หรือต้มก่อนก็ได้  แกงกะทิกับเนื้อรสชาติก็ไม่เลว ผลอ่อนมันกินได้ครับ ส่วนผลสุกก็กินได้ แต่ไม่อร่อยเท่านั้นเอง

เหลือบขึ้นไปดูที่เล่ามา ชักยาวแง่ะ ...พบกับต้นมะเดื่อต้นต่อไป ในบล็อกต่อไปนะครับ สวัสดี.  

ความเห็น

น้ำลายสอเลยค่ะ กับเรื่องจิ้มน้ำพริกFoot in Mouth

เอามั๊ยครับน้ำพริก จะทำส่งไปให้ แต่ไม่ใส่สารกันบูด บูดไม่รับประกันนะครับ

..โอกาสไม่ได้มีทุกวัน..

 

ทุกวันนี้แถวบ้านไม่มีแล้วครับ * สงสัยย้ายไปสวนพี่เสินหมดแล้ว*

สงสัยท่าจะจริง เห็นขึ้นทั่วไปหมด

 

ข้างกำแพงข้างบ้าน

..โอกาสไม่ได้มีทุกวัน..

 

ได้ชิมครั้งแรกตอนไปอุบล ไปเยี่ยมป้าเล็กอุบลกับย่าวรรณ กินครั้งแรกก็ติดใจเลย ยิ่งกิ่งที่พี่เสินให้ไปปลูกนะอร่อยมาก แต่ถ้าแก่แล้วไม่อร่อย เหนียว

อ๊อดเข้าใจผิดล่ะ มันคนละต้นกัน ที่อ๊อดเล่ามามันต้นฉิ่งนะครับ

..โอกาสไม่ได้มีทุกวัน..

 

ลูกฉิ่ง  ก็เป็นมะเดื่อ  ชนิดหนึ่ง  ที่นิยมนำมากินเป็นผักกับขนมจีนน้ำยา  มะเดื่อฉิ่งมี2แบบคือ  ต้นแดงกับต้นเขียว

ครับ ฉิ่งจะนำเสนอในบล็อกต่อไปครับ 

..โอกาสไม่ได้มีทุกวัน..

 

ที่บ้านมีแต่ต้นแบบนี้อ่ะครับ แต่ต้นใบลูกไม่เป็นที่ถูกใจก็เลยไม่ได้สนใจอะไรมากขึ้นเองอยู่ในไร่ กินได้หรือเปล่าก้ไม่รู้อีกตะหาก
 

มะเดื่อปล้อง กินได้แต่ไม่อร่อย ไม่นิยมกินครับ

..โอกาสไม่ได้มีทุกวัน..

 

หน้า