หัวโขนหรือหัวคน
อาจจะชอบแต้มแต่งเอง
หรือชอบที่เขาตกแต่งให้เสร็จ
เชิญแต้มแต่งหัวโขนตามใจชอบ...
หัวโขน
พอคนเกิดเป็นฉากชีวิตแล่น ต่างต้องเต้นตามบทกำหนดโขน
บ้างเป็นยักษ์ใหญ่ยิ่งลิงทโมน ล้วนโชกโชนเชิงศาสตร์ศิลปิน
หัวโขนมักมอมคนจนมืดอับ หูตาดับแสดงผิดจิตถวิล
ต้องเจาะรูตาโขนให้ยลยิน เห็นสรรพสิ้นเล่นสนุกถูกบทดี
พอโขนเลิกรีบเถิดถอดหัววาง อย่าฝันค้างคลั่งหาบ้าศักดิ์ศรี
ดูกระจกจากใจให้ชัดที บนบ่ามีหัวโขนหรือหัวคน
ขอขอบคุณ คุณสุทธิพล รัตนทรงธรรม (อุตรดิตถ์)ค่ะ
หัวโขน หรือ ศีรษะโขนคือ วัสดุที่ทำขึ้นสำหรับสวมศีรษะเมื่อใช้เล่นโขน มีด้วยกัน 3 รูปแบบ คือ ศีรษะยักษ์ ศีรษะลิง ศีรษะฤๅษี ศีรษะเทพเจ้า(หน้าพระ) (สำหรับตัวพระและตัวนางนั้นไม่ใส่หัวโขน) หัวโขนจะมีลักษณะของตัวละครนั้นๆ ไม่สามารถใช้แทนกันได้ปัจจุบันการทำหัวโขนในทุกวันนี้ได้เริ่มเลือนหายไปแล้ว โดยมีสาเหตุหลายประการด้วยกัน เช่น มีการสืบทอดศิลปะการแสดงโขนน้อยลง ความต้องการใช้จึงน้อยลง การขาดความรู้และถ่ายทอดความรู้ อันเนื่องจากการหวงวิชา เป็นต้น แม้ว่าปัจจุบันจะมีการผลิตหัวโขนเพื่อขายเป็นของที่ระลึก แต่ก็ไม่ได้ผลิตสำหรับการใช้งานจริงแต่อย่างใดการทำหัวโขนนั้นถือว่าเป็นการรวมศิลปกรรม ทั้ง 10 หมู่ และเป็นงานที่ต้องอาศัยความรัก และความละเอียดลออมาก ผู้ที่จะทำหัวโขน ต้องมีความรู้เกี่ยวกับลักษณะของตัวละคร รวมทั้งพงศ์ เป็นอย่างดี เช่น เป็นเทวดา มนุษย์ ยักษ์ ลิง สีของตัวละคร เครื่องประดับที่ตัวละครสวมใส่ เช่น มงกุฎ ชฎา ฯลฯ ลักษณะใบหน้า ถ้าเป็นยักษ์จะมีหลายลักษณะเช่น ตาโพลง ตาจระเข้ เขี้ยวทู่ เขี้ยวแหลม ปากแสยะ ปากขบ ส่วนลิงก็จะมีสองลักษณะเช่น ปากอ้า กับปากหุบ ฯลฯ ขั้นตอนการทำหัวโขนสร้างหุ่นโดยปั้นหุ่นให้มีลักษณะของตัวละครที่เราจะสร้าง เพียงแต่ใส่รายละเอียดเพียงคร่าว เช่น โครงคิ้ว จมูก ปาก ตาใช้กระดาษฟางปิดทับลงบนหุ่นหลาย ๆ ชั้น และรอให้แห้ง ผ่าหุ่นทางด้านหลัง เอาแบบกระดาษออกมา เย็บปิดรอยผ่า ขัดผิวกระดาษให้เรียบปั้นหน้า คิ้ว ปาก ตีลายตามส่วนของเครื่องประดับ ลงรักในส่วนที่จะปิดทอง รอให้รักหมาดและปิดทองคำเปลว เขียนสีที่หน้าและวาดตา คิ้ว ปาก ให้เรียบร้อย ติดเพชรหรือกระจก
รู้วิธีที่จะใส่หัวโขน ก็ควรรู้วิธีที่จะถอดหัวโขน จากยายอิ๊ดคนงามค่ะ
- บล็อกของ ยายอิ๊ด
- อ่าน 6382 ครั้ง
ความเห็น
pakdee809
16 สิงหาคม, 2010 - 22:55
Permalink
ขอบคุณยายอิ๊ดครับ
ขอบคุณยายอิ๊ดครับ นำสาระข้อคิดดีๆมาฝากอีกแล้ว
ยายอิ๊ด
16 สิงหาคม, 2010 - 23:04
Permalink
มาเร็วจังเลยพี่
เริ่มดีขึ้นก็เริ่มมาค่ะ เดี๋ยวแผลเจ็บค่อยว่ากันค่ะ
#แตกต่าง.แต่.ไม่แตกแยก#
ธารน้ำใส
16 สิงหาคม, 2010 - 23:26
Permalink
มีดีหลายอย่างนะคะ
มีดีหลายอย่างนะคะ มีเรื่องราวให้ติดตามตลอดเลย นอกจากได้ความรู้แล้วยังมีข้อคิดดีๆจากกลอนอีก
e-mail. puangpech_@hotmail.com
ยายอิ๊ด
16 สิงหาคม, 2010 - 23:30
Permalink
ธารน้ำใส
ขอบคุณค่ะ ที่ชอบนะค่ะ ยายอิ๊ดเป็นชนกลุ่มน้อยค่ะ ไม่ค่อยเหมือนใคร หรือใครไม่คบก็ไม่ทราบ อิ อิ
#แตกต่าง.แต่.ไม่แตกแยก#
panatda
17 สิงหาคม, 2010 - 01:51
Permalink
หัวโขน
ขอบคุณที่นำมาแบ่งปันนะคะได้สาระ น่ารู้ข้อคิดอีกแล้วนะคะ จากหัวข้อ หัวโขนค่ะ
ยายอิ๊ด
17 สิงหาคม, 2010 - 10:57
Permalink
จ้าน้องแป๋ว
จ้าน้องแป๋ว แป๋วใส่สักหัวมั้ยจ๊ะ
#แตกต่าง.แต่.ไม่แตกแยก#
ไม้หอม
17 สิงหาคม, 2010 - 05:50
Permalink
ขอบคุณนะครับ ที่นำมาฝาก
ขอบคุณนะครับ ที่นำมาฝาก มีข้อคิดดีๆเยอะเลยครับ
วิหคน้อยบินไกล เฝ้ารอวันกลับคืนถิ่น
ยายอิ๊ด
17 สิงหาคม, 2010 - 10:58
Permalink
ขอบคุณครับ ผม
ขอบคุณครับ ผม
#แตกต่าง.แต่.ไม่แตกแยก#
ตั้ม
17 สิงหาคม, 2010 - 06:19
Permalink
จินตนาการ....
ไอ้ผมมันคนเรื่อยเปื่อย..หากมีอะไรจุดประกาย ความคิด..จินตนาการมันก็โลดแล่นโดยยากที่จะควบคุม..อ่านเรื่องหัวโขนหัวคน..ก็เตลิดไปอีก..ถ้าให้ใส่หัวโขน..ยายอิ๊ดควรใส่ตัวใด..สีดา..เบญจกาย..แล้วคนอื่นๆในบ้านสวนจะใส่ตัวใดกันบ้าง..
แสวงหาชีวิตที่สงบ..หลบลี้หนีความวุ่นวาย
ป้าหน่อย
17 สิงหาคม, 2010 - 07:16
Permalink
น้านๆๆๆๆๆๆๆๆ
น้านๆๆๆ เดี๋ยว สมช.ทุกท่านเตีรยมอ่านพล๊อตเด็ดๆ จากเฮียตั้มเลย
มีอีกแน่ สงสัยไดเดีย กำลังบรรเจิด
ไ้ด้แรงบันดาลใจจากหัวโขน ของคุึณ.. ยายอิ๊ด
ลูกอิสานกันดารแท้ แต่บ่อเหี่ยวทางน้ำใจเด้อ
หากแหม่นใหลหลั่งรินปานฝนแต่เมืองฟ้า
มาเด้อพวกพี่น้อง สานสัมพันธ์ให้มันแก่น
ให้ยืนยาวแนบแน่นพอปานปั้นก้อนข้าวเหนียว เด้อพี่น้อง
หน้า