เวลาที่มีคุณค่า ไม่แต่เพียงด้านการเกษตร แต่เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงขององค์พ่อหลวง

หมวดหมู่ของบล็อก: 

ขอบคุณลิงค์จากบ้านสวนพอเพียง และเสียดายที่มาอ่านศึกษาเมื่อ หลงเดินออกนอกแนวทางพระองค์ท่านไปไกลมาก จึงอยากให้พวกเราพิจารณา และนำไปปฏิบัติ เพื่อความยั่งยืน อย่างมีคุณธรรม นะครับ

***************************************

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่ทรงปรับปรุงพระราชทานเป็นที่มาของนิยาม "3 ห่วง 2 เงื่อนไข" ที่คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นำมาใช้ในการรณรงค์เผยแพร่ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงผ่านช่องทางสื่อต่าง ๆ อยู่ในปัจจุบัน ซึ่งประกอบด้วยความ "พอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน" บนเงื่อนไข "ความรู้" และ "คุณธรรม"

ดร.จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา ประธานคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง อธิบายถึงการพัฒนาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ว่า เป็นการพัฒนาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลางและความไม่ประมาท โดยคำนึงถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัวตลอดจนการใช้ความรู้ ความรอบคอบละคุณธรรมประกอบการวางแผน การตัดสินใจและการกระทำต่างๆ ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดี ที่ไม่มากและไม่น้อยจนเกินไป ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่พอประมาณ ความมีเหตุผล หมายถึง การใช้หลักเหตุผลในการตัดสินใจเรื่องต่างๆ โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นอย่างรอบคอบ การมีภูมิคุ้มกันที่ดี หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับต่อผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงรอบตัว ปัจจัยเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้นั้น จะต้องอาศัยความรู้ และคุณธรรม เป็นเงื่อนไขพื้นฐาน กล่าวคือ เงื่อนไขความรู้ หมายถึง ความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังในการดำเนินชีวิตและการประกอบการงาน ส่วนเงื่อนไขคุณธรรม คือ การยึดถือคุณธรรมต่างๆ อาทิ ความซื่อสัตย์สุจริต ความอดทน ความเพียร การมุ่งต่อประโยชน์ส่วนรวมและการแบ่งปัน ฯลฯ ตลอดเวลาที่ประยุกต์ใช้ปรัชญา[7]

อภิชัย พันธเสน ผู้อำนวยการสถาบันการจัดการเพื่อชนบทและสังคม ได้จัดแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงว่าเป็น "ข้อเสนอในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจตามแนวทางของพุทธธรรมอย่างแท้จริง" ทั้งนี้เนื่องจากในพระราชดำรัสหนึ่ง ได้ให้คำอธิบายถึง เศรษฐกิจพอเพียง ว่า "คือความพอประมาณ ซื่อตรง ไม่โลภมาก และต้องไม่เบียดเบียนผู้อื่น"[8]

 

 

ระบบเศรษฐกิจพอเพียงมุ่งเน้นให้บุคคลสามารถประกอบอาชีพได้อย่างยั่งยืน และใช้จ่ายเงินให้ได้มาอย่างพอเพียงและประหยัด ตามกำลังของเงินของบุคคลนั้น โดยปราศจากการกู้หนี้ยืมสิน และถ้ามีเงินเหลือ ก็แบ่งเก็บออมไว้บางส่วน ช่วยเหลือผู้อื่นบางส่วน และอาจจะใช้จ่ายมาเพื่อปัจจัยเสริมอีกบางส่วน สาเหตุที่แนวทางการดำรงชีวิตอย่างพอเพียง ได้ถูกกล่าวถึงอย่างกว้างขวางในขณะนี้ เพราะสภาพการดำรงชีวิตของสังคมทุนนิยมในปัจจุบันได้ถูกปลูกฝัง สร้าง หรือกระตุ้น ให้เกิดการใช้จ่ายอย่างเกินตัว ในเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องหรือเกินกว่าปัจจัยในการดำรงชีวิต เช่น การบริโภคเกินตัว ความบันเทิงหลากหลายรูปแบบ ความสวยความงาม การแต่งตัวตามแฟชั่น การพนันหรือเสี่ยงโชค เป็นต้น จนทำให้ไม่มีเงินเพียงพอเพื่อตอบสนองความต้องการเหล่านั้น ส่งผลให้เกิดการกู้หนี้ยืมสิน เกิดเป็นวัฏจักรที่บุคคลหนึ่งไม่สามารถหลุดออกมาได้ ถ้าไม่เปลี่ยนแนวทางในการดำรงชีวิต

ซึ่ง ดร. สุเมธ ตันติเวชกุล ได้กล่าวว่า "หลาย ๆ คนกลับมาใช้ชีวิตอย่างคนจน ซึ่งเป็นการปรับตัวเข้าสู่คุณภาพ"[9] และ "การลงมือทำด้วยความมีเหตุมีผล เป็นคุณค่าของเศรษฐกิจพอเพียง"[10]

ความเห็น

คนที่ทำเกษตรทุกวันนี้   ไม่ค่อยพอกับการดำรงชีวิตเพราะว่า

1 รัฐไ่ม่นับสนุนให้เป็นรูปธรรม ไม่รับประกันให้ชัดเจน  ที่รัฐโฆษณาอยู่ เป็นการดูแลคนบางกลุ่ม  คนที่อยู่ได้  เพราะ  มีเงินทุน  และวิธีการ ของตัวเอง

2วิถีของเกษตรกร   ขาดที่ปรึกษา  ใช้ชีวิตกับความเสี่ยง   ความรู้น้อย  ขาดการ จัดระบบ 

 โนคอมเม้นท์แต่เห็นด้วยกับป้าเล็กค่ะ

ก่อนจะพอเพียงต้องให้เพียงพอก่อน   ขยันอดทนแต่อย่าทนอด   โดยเฉพาะต้องอดทนต่อสิ่งเร้าเย้ายวนทั้งหลายชนะใจตัวเองให้ได้   ขวนขวายหาในสิ่งที่ไม่รู้และรีบทำในสิ่งที่คิดว่าดีเป็นประโยชน์   ตัดรักโลภโกรธหลงโดยขาดสติให้ได้   อย่าคิดอย่างการค้า   สร้างภูมิคุ้มกันให้ได้แล้วใจจะนิ่ง

ป้าเล็กพูดถูก ไม่อยากวิจานท์รัฐ(กลัวติดคุก)มีแต่นโยบายสวยหรู แต่ทำไม่ค่อยได้ ก็ต้องเห็นใจ มันต้องแย่งกันถึงจะได้เป็นรัฐบาล เป็นเเล้วก็เหมือนเดิม แย่งไปแย่งมาทะเลาะกัน แล้วก็ฆ่ากัน ใครล่ะซวย ก็พวกเรานี่ไง(ตาปริบๆ)ที่ทำอยู่เนี่ยก็ช่วยตัวเอง..ช่วยทุกวันจนหน้ามืดแล้ว(แล้วเมียไปไหนล่ะปล่อยอยู่ได้.)..เฮ้ย คนละเรื่อง,,,

ท่าน อจ. ดร. สุเมธ ตันติเวชกุล ได้พูดถึง เศรษฐกิจพอเพียง พระองค์ท่านไว้ มากมาย แต่ส่วนใหญ่ ยาว ๒-๓ชม. ในเทปนี้ ยาวประมาณ ๕๐นาที บวกคำถาม ตั้งแต่กระแสโลก มาจนจบขบวนการ

อ่าน ฟัง ศึกษา หาเหตุผล และพยายามเช่นผม ที่จะใช้ชีวิตที่เหลือ ปฏิบัติ ตน ตามที่พระองค์ท่านได้พระราชทานให้ และพาดำเนิน ... เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม ... 

http://www.nesac.go.th/NESAC_LIVE/suff_eco/

 

"เศรษฐกิจพอเพียง" เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 
พระราชทานพระราชดำริชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า 25 ปี 
ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไข เพื่อให้รอดพ้น 
และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่างๆ 

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 
เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ 
ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง 
โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ 
ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อการกระทบใดๆ อันเกิดจาก 
การเปลี่ยนแปลงทั้งภายในภายนอก ทั้งนี้ จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่ง 
ในการนำวิชาการต่างๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน และขณะเดียวกัน จะต้องเสริมสร้าง 
พื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี และนักธุรกิจในทุกระดับ ให้มีสำนึกในคุณธรรม 
ความซื้อสัตย์ สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติปัญญา และความรอบคอบ 
เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม 
และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี 



        เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา (ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล) ได้ให้เกียรติมาบรรยายพิเศษเรื่อง “เศรษฐกิจพอเพียง” ให้สมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติรับฟัง ดังนี้ 

        ประเด็นเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงมีฐานแนวคิดที่สะท้อนมาจากผลการพัฒนาของประเทศไทยตั้งแต่ต้นจนถึงปัจจุบันและสถานการณ์โลกที่มีการเปลี่ยนแปลงมากในระยะเวลาอันรวดเร็ว อาจกล่าวได้ว่าเวลานี้ระบบเศรษฐกิจโลกเหลือเพียงขั้วเดียวคือขั้วเสรีนิยมหรือทุนนิยมหรือบริโภคนิยม ซึ่งในโลกทุนนิยมนี้ประเทศต่างๆ มุ่งแสวงหาความเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจเป็นที่ตั้ง และลักษณะสำคัญคือแสวงหาความร่ำรวยจากการลงทุน การบริโภคถือเป็นทฤษฎีหลักของระบบทุนนิยม ถ้าปราศจากจุดนี้แล้วถือว่าเจริญไม่ได้ เพราะฉะนั้น จึงเกิดภาวะของการแข่งขันกันอย่างรุนแรงและ มีการกระตุ้นให้เกิดการบริโภคอยู่ตลอดเวลา โดยการกระตุ้นกิเลส ทำให้เกิดการอยาก ซึ่งจะทำให้ระบบนี้อยู่ได้ 

        อย่างไรก็ตามสินค้าที่นำมาบริโภคทุกอย่างต้องผลิตมาจากวัตถุดิบที่มาจากทรัพยากรธรรมชาติที่นำมาแปรรูปเพื่อให้ใช้งานได้ ขณะเดียวกันเมื่อมีการบริโภคก็ก่อให้เกิดของเสียออกมาในปริมาณเกือบจะเท่ากัน ฉะนั้นโลกจะต้องรับภาระอย่างมาก คือจะต้องป้อนวัตถุดิบเพื่อการบริโภคและหลังจากนั้นต้องแบกรับภาระขยะของเสียที่มาจากการบริโภค โดยที่การจัดการเรื่องกำจัดขยะเสียยังทำได้น้อยมาก การนำกลับมาใช้ใหม่มีแค่ 19 % ยิ่งเวลานี้มีการอำนวยความสะดวกให้กับผู้บริโภคจะเห็นว่าสินค้าประเภทใช้ครั้งเดียวทิ้งมีจำนวนมาก ปัญหาคือทรัพยากรธรรมชาติจะแบกรับไหวหรือไม่ คำตอบก็คือไม่ไหว เพราะเวลานี้ทั่วโลกมีการบริโภคในอัตรา 3 : 1 คือทรัพยากรธรรมชาติถูกบริโภคไป 3 ส่วน แต่สามารถชดเชยกลับมาได้เพียง 1 ส่วน ซึ่งถ้ายังคงมีการบริโภคกันในอัตรานี้ต่อไป ก็จะต้องพบกับปัญหาในที่สุด อย่างไรก็ตามได้เริ่มมีกระแสของกลุ่มคนที่มีปัญญาเกิดขึ้น เพราะเริ่มมองเห็นถึงภัยอันตรายที่จะเกิดขึ้นต่อสภาวะโลกปัจจุบัน 

        ในประเทศไทยตั้งแต่มีแผนพัฒนาฉบับแรก ใน ปี 2505 ประเทศไทยได้มี การพัฒนาตามรูปแบบของทุนนิยมเช่นกันเพราะในตอนที่คิดจะทำแผนพัฒนาฯ ได้มีการเชิญ ผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศเข้ามาสอนวิชาการวางแผนให้ โดยมีการนำเอาปรัชญาการวางแผนแบบตะวันตกเข้ามาด้วยคือมุ่งสร้างความร่ำรวยทางด้านเศรษฐกิจอย่างเดียว ซึ่งประเทศไทยก็ได้มีการพัฒนาให้เจริญเติบโตขึ้นจริง แต่เป็นความเจริญเติบโตที่สร้างและแลกกับการต้องสูญเสียป่าไม้ และทรัพยากรธรรมชาติที่ถูกทำลายล้างไปเป็นจำนวนมาก จะเห็นว่าความเจริญเติบโต ซึ่งได้ดำเนินมา ตั้งแต่ปี 2505 บัดนี้ มีเหตุการณ์หนึ่งที่ก่อให้เกิดวิกฤตต่อเศรษฐกิจของประเทศ คือโตแล้วแตก เป็นสัจธรรมอย่างหนึ่งคือ เมื่อเศรษฐกิจโตมากขึ้น ในที่สุดก็จะแตกออก และก็จะมาเริ่มต้นกันใหม่ 

        อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการมองหาว่าอะไรคือสาเหตุของวิกฤตการณ์ฟองสบู่แตกครั้งนั้นจะพบว่าเป็นเพราะการเติบโตของไทยอยู่บนฐานที่ยังไม่มีความพร้อม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงรับสั่งเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง ว่าการพัฒนาบ้านเมืองเหมือนการสร้างบ้านเวลาที่มีการสร้างบ้านสิ่งแรกที่ต้องทำคือต้องวางฐานรากฝังเสาเข็ม และเสาเข็มแต่ละต้นจะถูกคำนวณมาแล้ว ว่าต้องแบกน้ำหนักเท่าใดแล้วจึงสร้างบ้าน แน่นอนว่าถ้าเสาเข็มวางไว้สำหรับบ้านสองชั้นก็จะแบกรับได้แค่ บ้านสองชั้นเท่านั้น การพัฒนาประเทศก็เช่นกันแต่ที่ผ่านมาประเทศไทยเหมือนการย่างก้าวเข้าสู่การพัฒนาโดยที่ไม่ได้คำนึงถึงฐานรากของประเทศ ซึ่งน่าจะมีฐานในภาคการเกษตรแต่กลับมุ่งไปสู่การเป็นประเทศอุตสาหกรรมที่มีความต้องการปัจจัยสำคัญ 3 เรื่อง คือ 1) เงิน ซึ่งประเทศไทยอาจมีไม่พอก็ไปกู้มาเพิ่ม 2) เทคโนโลยี ซึ่งประเทศไทยไม่เคยสร้างอะไรขึ้นมาเองก็จะนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศมาใช้ และ 3) คน ซึ่งมาตรฐานการศึกษาของไทยต่ำลง มหาวิทยาลัยมากขึ้นแต่คุณภาพลดลง แต่ถ้าคนที่รู้ด้านการในประเทศไม่มีก็ไม่เป็นไรอีกก็จ้างต่างชาติเข้ามา จะเห็นว่าการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศไทยตั้งอยู่บนฐานของคนอื่นทั้งสิ้น และเมื่อมีการก็ย้ายฐานการลงทุนออกไปเศรษฐกิจ ก็ล้มในที่สุด สถานการณ์นี้เป็นวัฏจักรของการพัฒนาเหมือนกับวัฏจักรเชิงพุทธคือ เกิด แก่ เจ็บ ตาย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงยึดหลักการพอดีตั้งแต่แรกโดยให้มีการพัฒนาไปตามขั้นตอน เป็นระยะ ๆ 

        เศรษฐกิจพอเพียงไม่ใช่เศรษฐกิจสำหรับคนยากคนจน ไม่ใช่เศรษฐกิจที่จะต้องมาห่อตัว พระองค์ท่านให้ร่ำรวยแต่ร่ำรวยแล้วต้องรักษาให้คงอยู่ ร่ำรวยและต้องยั่งยืน และต้องกระจายอย่างทั่วถึง พระองค์ท่านรับสั่งให้คำไว้สามคำเป็นหลักสามประการและฐานใหญ่ไว้หนึ่งฐาน เป็นแนวทางของการพัฒนาประเทศ และจะนำไปใช้ในการบริหารงานในองค์กรใดๆ ก็ได้ ดังนี้ 

        ประการที่หนึ่ง ให้ใช้เหตุผลอย่าใช้กิเลสตัณหาเป็นเครื่องนำทาง อย่าเอาแต่กระแส ต้องมีความกล้าหาญเพียงพอที่จะเลือกหนทางว่าประเทศไทยต้องการจะพัฒนาไปทางไหนไม่จำเป็นต้องตามกระแสของโลก 

        ประการที่สอง ทำอะไรพอประมาณ การพอประมาณคือตรวจสอบศักยภาพของตนเองก่อน ฐานของตนเองอยู่ตรงไหน การจะพัฒนาอะไรต้องดูจากศักยภาพที่มีความเข้มแข็งก่อน 

        ประการที่สาม ทำอะไรให้มีภูมิคุ้มกันตลอดเวลา เพราะไม่รู้พรุ่งนี้จะมีอะไรเกิดขึ้น ปัจจุบันสถานการณ์ต่างๆ มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำให้การวางแผนพัฒนาทำได้ยาก มีปัจจัยความเสี่ยงอยู่ตลอดเวลา จึงต้องมีวิสัยทัศน์ ตัวอย่างเช่น เรื่องราคาน้ำมันต้องมองในอนาคต ถ้านำไบโอดีเซลมาใช้จะช่วยลดความเสี่ยงด้านราคาน้ำมันได้หรือไม่ เป็นต้น 

        นอกจากสามคำนี้พระองค์ท่านทรงให้มีฐานรองรับที่สำคัญอีกคำหนึ่งคือ คนต้องดีด้วย ต้องมีจริยธรรมและคุณธรรม มีธรรมาภิบาล พระองค์ท่านทรงวางหลักการไว้ดีมาก แต่ปัญหาเกิดจากยังไม่มีความพยายามที่จะสร้างความเข้าใจกัน 

        สุดท้าย คงต้องอันเชิญเป้าหมายในการครองแผ่นดินของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวเมื่อ 60 ปีที่แล้ว ว่าเป้าหมายในการครองแผ่นดินของพระองค์ท่าน คือเพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม ซึ่งคนไทยทุกคนควรยึดคำนี้เป็นที่มั่น ประโยชน์สุขที่ว่านั้นคือ ไม่ว่าจะมีการสร้างความร่ำรวย หรือการสร้างประโยชน์ใดๆ ต้องให้นำไปสู่ “ความสุข” ของประชาชนทั้งประเทศเป็นเป้าหมายหลัก 

  เอกสารสรุปการบรรยายพิเศษ เรื่อง “เศรษฐกิจพอเพียง" โดย เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา (ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล) ..(pdf) 

เพื่อพัฒนาความรู้ ความเข้าใจ การทำปุ๋ยหมักตื่นตัว และสวนผักปลอดภัย

 

 

กระเป๋าใบละ 100,000บาท ต้องจองคิวกัน ไม่มีประสบการณ์กับเขา แต่ ที่้บ้าน หลังจากดูสภาพของใช้ ไฟฟ้า เครื่องเสียง ก็ยอมรับว่า ไม่ได้ทำตามแนวทางพระองค์ท่าน เพราะ ของใช้บริโภค กับขยะ มีบริมาณ เท่าๆกัน ถ้าจะบริจาคให้วัด หรือ รร.ยากจน ห่างไกล อจ. ดร. สุเมธ ก็กล่าวไว้ เป็นการเคลื่อนขยะในอนาคตอันใกล้( 1-2ปี) ไปไว้ชนบทห่างไกล มนุษย์บริโภคเกินไป โลกจะแบกไหวไหม ????

*********************************

(ต่อ)

ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา เป็นข้าราชบริพารที่รับใช้เบื้องพระยุคลบาทอย่างใกล้ชิด แนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโดยตอกย้ำถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบันโลก และโดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศไทย อันเป็นส่วนหนึ่งของโลกที่อยู่ในกระแสเสรีนิยม ทุนนิยม หรือบริโภคนิยม ที่ชัดเจนในการแสวงหาความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นที่ตั้ง ความร่ำรวยจากการลงทุน กระตุ้นการบริโภคและกิเลส หล่อเลี้ยงระบบทุนนิยม 

ประเทศไทยเองก็พัฒนาตามแบบทุนนิยมเช่นกัน ตั้งแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับแรก เมื่อปี 2505 เศรษฐกิจเติบโตมาต่อเนื่อง จนกระทั่งมาจุดหนึ่งที่เกิดวิกฤตต่อเศรษฐกิจของประเทศ คือโตแล้วแตก 

“ที่ผ่านมาประเทศไทยก้าวเข้าสู่การพัฒนาโดยที่ไม่ได้คำนึงถึงฐานรากของประเทศ ซึ่งมีฐานในภาคการเกษตร แต่กลับมุ่งไปสู่การเป็นประเทศอุตสาหกรรมที่มีความต้องการปัจจัยสำคัญ 3 เรื่อง คือ 1.เงิน ซึ่งประเทศไทยอาจมีไม่พอก็ไปกู้มาเพิ่ม 2.เทคโนโลยี ซึ่งประเทศไทยไม่เคยสร้างอะไรขึ้นมาเองก็จะนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศมาใช้ และ 3.คน ซึ่งมาตรฐานการศึกษาของไทยต่ำลง มหาวิทยาลัยมากขึ้นแต่คุณภาพลดลง แต่ถ้าคนที่รู้ด้านการในประเทศไม่มีก็ไม่เป็นไรอีกก็จ้างต่างชาติเข้ามา 

จะเห็นว่าการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศไทยตั้งอยู่บนฐานของคนอื่นทั้งสิ้น และเมื่อมีการก็ย้ายฐานการลงทุนออกไป เศรษฐกิจก็ล้มในที่สุด 

สถานการณ์นี้เป็นวัฏจักรของการพัฒนาเหมือนกับวัฏจักรเชิงพุทธ คือ เกิด แก่ เจ็บ ตาย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงยึดหลักการพอดีตั้งแต่แรก โดยให้มีการพัฒนาไปตามขั้นตอน เป็นระยะๆ 

ดร.สุเมธย้ำว่าเศรษฐกิจพอเพียงไม่ใช่เศรษฐกิจสำหรับคนยากคนจน พระองค์ท่านรับสั่งว่า ...ให้ร่ำรวย แต่ร่ำรวยแล้วต้องรักษาให้คงอยู่ ต้องยั่งยืน และต้องกระจายอย่างทั่วถึง 

พระองค์ท่านรับสั่งให้คำไว้สามคำเป็นหลักสามประการ เพื่อใช้เป็นแนวทางของการพัฒนาประเทศ และจะนำไปใช้ในการบริหารงานในองค์กรต่างๆ ดังนี้ 

ประการที่หนึ่ง ให้ใช้เหตุผลอย่าใช้กิเลสตัณหาเป็นเครื่องนำทาง อย่าเอาแต่กระแส ต้องมีความกล้าหาญเพียงพอที่จะเลือกหนทางว่าประเทศไทยต้องการจะพัฒนาไปทางไหนไม่จำเป็นต้องตามกระแสของโลก 

ประการที่สอง ทำอะไรพอประมาณ การพอประมาณคือตรวจสอบศักยภาพของตนเองก่อน ฐานของตนเองอยู่ตรงไหน การจะพัฒนาอะไรต้องดูจากศักยภาพที่มีความเข้มแข็งก่อน 

ประการที่สาม ทำอะไรให้มีภูมิคุ้มกันตลอดเวลา เพราะไม่รู้พรุ่งนี้จะมีอะไรเกิดขึ้น ปัจจุบันสถานการณ์ต่างๆ มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำให้การวางแผนพัฒนาทำได้ยาก มีปัจจัยความเสี่ยงอยู่ตลอดเวลา จึงต้องมีวิสัยทัศน์ ตัวอย่างเช่น เรื่องราคาน้ำมันต้องมองในอนาคต ถ้านำไบโอดีเซลมาใช้จะช่วยลดความเสี่ยงด้านราคาน้ำมันได้หรือไม่ เป็นต้น 

นอกจากสามคำนี้พระองค์ท่านทรงให้มีฐานรองรับที่สำคัญอีกคำหนึ่งคือ คนต้องดีด้วย ต้องมีจริยธรรมและคุณธรรม มีธรรมาภิบาล พระองค์ท่านทรงวางหลักการไว้ดีมาก แต่ปัญหาเกิดจากยังไม่มีความพยายามที่จะสร้างความเข้าใจกัน 

ที่มา : ส่วนหนึ่งจากคำบรรยายเรื่อง "เศรษฐกิจพอเพียง" โดย ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2549 ณ สำนักงานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 


Profile 

ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เกิดเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2482 ที่ จ.เพชรบุรี จบการศึกษาระดับมัธยมและอนุปริญญา ที่ประเทศเวียดนามและประเทศลาว ปริญญาตรีรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกรอนอบ ประเทศฝรั่งเศส ปริญญาโท-เอกทางรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยมองเปลิเอ ประเทศฝรั่งเศส เริ่มทำงานที่สภาพัฒน์ตั้งแต่ปี 2512 ได้เป็นเลขาธิการสำนักงานสภาพัฒน์ ตั้งแต่ปี 2537-2539 ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็นเลขาธิการมูลนิธิชัย พัฒนา และเป็นเลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.) ยังนับเป็นผู้ถ่ายทอดพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวผ่านสื่อต่างๆ รวมทั้งออกหนังสือที่ทรงคุณค่าเรื่องใต้เบื้องพระยุคลบาท และหลักธรรม หลักทำ ตามรอยพระยุคลบาท


Read more: http://www.positioningmag.com/magazine/details.aspx?id=53988#ixzz1BZ0UPDQF 
Under Creative Commons License: Attribution Non-Commercial No Derivatives

เพื่อพัฒนาความรู้ ความเข้าใจ การทำปุ๋ยหมักตื่นตัว และสวนผักปลอดภัย

 

 

http://www.bcnsurat.ac.th/index.php?option=com_content&view=article&id=89:2010-08-19-12-50-05&catid=13:2010-02-02-07-06-41


นางสาวนูร์รุสดา  หามะ นักศึกษาวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี ชนะเลิศการประกวดกล่าวสุนทรพจน์ภาษาอังกฤษ หัวข้อ " We love Thailand and We love Health" ในการแข่งขันวิชาการสมิหลาเกมส์ ครั้งที่ 21 ประจำปี 2553 ณ หอประชุมเอนกประสงค์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา วันที่ 5 สิงหาคม 2553 โดยอาจารย์ ยุพาวดี  เทพมณี  และ อาจารย์ Nadia Ailyas เป็นผู้ฝึกซ้อม และ Mr. Peter  Schafer, Mr. Guide Aerts,Mrs. Barbel  Schroter จากมหาวิทยาลัยทักษิณ  เป็นคณะกรรมการผู้ตัดสิน การประกวดกล่าวสุนทรพจน์ภาษาอังกฤษ

We Love Thailand And We Love Health


Thailand has something that not every country can offer. What we have is special. This is why Thailand is called ?The Land of Smiles?. If you come to Thailand you will see this straight away. If you are in good health, you smile.

?Health? in the dictionary means the general condition of a person in all aspects. It is also a level of functional and metabolic efficiency of an organism, often implicitly human. I think it is difficult to understand. In my mind, I think health is having a strong body and a good heart, because if the people of Thailand have that they can do all activities in their life, well. 

What do you have to do to be in good health? It?s very simple. Everyday we have traffic jams, social and criminal problems. All of them are social issues that have to be resolved as quickly as possible. As we can see in our day-to-day lives the crime rate is the main problem in our society, but above that, is the problem about our health. There is a good way of resolving this problem in our society. ?Sufficiency Economy? The Sufficiency Economy was set up by His Majesty King Bhumibol Adulyadej. The Sufficiency Economy is composed of three main things ? sustainability, moderation and broad-based development. 

I am a student nurse who has the kings? Sufficiency Economy kept deep in my heart. I use Sufficiency Economy to help me improve my work and my life in general. For example nutrition-wise, I plant my own vegetables because it is cost-efficient and clean. I believe that the Sufficiency Economy can help me and you in every way. Sufficiency Economy can be applied to everything, if we know how. It has made society in Thailand so far. 

Thailand has much to offer, including the variety of markets. The marketing focus for Thailand in the Middle East for 2010 was recently declared by the Governor to promote Thailand?s strengths in terms of the ?3 Gs? These are: 

1st ? Good Health: This is referring to Thailand?s internationally recognized medical health and positive lifestyle.

2nd ? Good Food: We eat a wide range of vegetables, meats, and fish which contain the nutrients we need for day-to-day activities. We can find all of these in Thai markets.

3rd - Good Price: This highlights Thailand as an affordable destination for holidays and shopping. 

The ?3 Gs? are guiding Thailand towards good health and positive thinking. If we have good health, we can protect our country together. 

?We Love Our King, We Love Thailand and We Love Health?.

เพื่อพัฒนาความรู้ ความเข้าใจ การทำปุ๋ยหมักตื่นตัว และสวนผักปลอดภัย

 

 

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ จึงประกอบหลักการหลักวิชาการ และหลักธรรมหลายประการ อาทิ

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในภาครัฐ : แนวคิดสู่การปฏิบัติ

รศ.ดร.ณัฏฐพงศ์  ทองภักดี

คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ  NIDA

(๑) เป็นปรัชญาแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน     
     จนถึงระดับรัฐ
(๒) เป็นปรัชญาในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง
(๓) จะช่วยพัฒนาเศรษฐกิจให้ก้าวทันโลกยุคโลกาภิวัตน เพื่อให้สมดุล และพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่าง
     รวดเร็ว กว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม จากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี
(๔) ความพอเพียง หมายถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผลรวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอ
      สมควรต่อ การมีผลกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน
(๕) จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวัง อย่างยิ่งในการนำวิชาการต่างๆมาใช้ในการวางแผน 
      และดำเนินการ ทุกขั้นตอน
(๖) จะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี และนักธุรกิจในทุกระดับ      
     ให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริตและให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร      
      มีสติปัญญาและความรอบคอบ

หากจะทำให้เข้าใจง่าย ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนั้น มีหลักพิจารณาอยู่ 5 ส่วน หรือ เพื่อง่ายต่อการจดจำ และนำไปปฏิบัติ
อาจเรียกว่า 3 ลักษณะ 2 เงื่อนไข ก็ได้

องค์ประกอบด้านลักษณะ ความพอเพียงต้องประกอบด้วย 3 ลักษณะ ดังนี้
ความพอประมาณ
หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไปโดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น
เช่นการผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ อาจกล่าวอีกนัยหนึ่ง คือการยึดตนอยู่บนทางสายกลางก็เป็นได้
ความมีเหตุผล
หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผลโดยพิจารณาจากเหตุปัจจัย
ที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ
การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว
หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึง
ความเป็นไปได้ของสถานการณ์ ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล คือการ
เตรียมพร้อมรับมือกับการแก้ปัญหาต่างๆที่อาจเกิดขึ้น
องค์ประกอบด้าน เงื่อนไข ความพอเพียงต้องอาศัย 2 เงื่อนไข ดังนี้
เงื่อนไขความรู้
ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้น
มาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผน และความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ
เงื่อนไขคุณธรรม
ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทน มีความเพียร
ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต
เศรษฐกิจพอเพียงกับ เกษตร ทฤษฎีใหม่ และ ประสานความมั่นคงเศรษฐกิจ
เศรษฐกิจพอเพียงและแนวทางปฏิบัติของ ทฤษฎีใหม่ เป็นแนวทางในการพัฒนาที่นำไปสู่ความสามารถในการพึ่งตนเอง
ในระดับต่าง ๆ อย่างเป็นขั้นตอน โดยลดความเสี่ยงเกี่ยวกับความผันแปรของธรรมชาติ หรือการเปลี่ยนแปลงจากปัจจัยต่าง ๆ
โดยอาศัยความพอประมาณและความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดี มีความรู้ ความเพียรและความอดทน สติและปัญญา
การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และความสามัคคี
เศรษฐกิจพอเพียงมีความหมายกว้างกว่าทฤษฎีใหม่โดยที่เศรษฐกิจพอเพียงเป็นกรอบแนวคิดที่ชี้บอกหลักการ
และแนวทางปฏิบัติของทฤษฎีใหม่ในขณะที่ แนวพระราชดำริเกี่ยวกับทฤษฎีใหม่หรือเกษตรทฤษฎีใหม่
ซึ่งเป็นแนวทางการพัฒนาภาคเกษตรอย่างเป็นขั้นตอนนั้น เป็นตัวอย่างการใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงในทางปฏิบัติ
ที่เป็นรูปธรรมเฉพาะในพื้นที่ที่เหมาะสม ทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ อาจเปรียบเทียบกับหลักเศรษฐกิจพอเพียง
ซึ่งมีอยู่ 2 แบบ คือ แบบพื้นฐานกับแบบก้าวหน้า ได้ดังนี้
ทฤษฎีใหม่แบบพื้นฐาน
ความพอเพียงในระดับบุคคลและครอบครัวโดยเฉพาะเกษตรกร เป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบพื้นฐาน
เทียบได้กับทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 1 ที่มุ่งแก้ปัญหาของเกษตรกรที่อยู่ห่างไกลแหล่งน้ำ ต้องพึ่งน้ำฝนและประสบความเสี่ยง
จากการที่น้ำไม่พอเพียง แม้กระทั่งสำหรับการปลูกข้าวเพื่อบริโภค และมีข้อสมมติว่า
มีที่ดินพอเพียงในการขุดบ่อเพื่อแก้ปัญหาในเรื่องดังกล่าวจากการแก้ปัญหาความเสี่ยงเรื่องน้ำ
จะทำให้เกษตรกรสามารถมีข้าวเพื่อการบริโภคยังชีพในระดับหนึ่งได้ และใช้ที่ดินส่วนอื่น ๆ สนองความต้องการพื้นฐาน
ของครอบครัว รวมทั้งขายในส่วนที่เหลือเพื่อมีรายได้ที่จะใช้เป็นค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่ไม่สามารถผลิตเองได้
ทั้งหมดนี้เป็นการสร้างภูมิคุ้มกันในตัวให้เกิดขึ้นในระดับครอบครัว อย่างไรก็ตาม แม้กระทั่ง ในทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 1
ก็จำเป็นที่เกษตรกรจะต้องได้รับความช่วยเหลือจากชุมชนราชการ มูลนิธิ และภาคเอกชน ตามความเหมาะสม
ทฤษฎีใหม่แบบก้าวหน้า
ความพอเพียงในระดับชุมชนและระดับองค์กรเป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้า ซึ่งครอบคลุมทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 2
เป็นเรื่องของการสนับสนุนให้เกษตรกรรวมพลังกันในรูปกลุ่มหรือสหกรณ์ หรือการที่ธุรกิจต่าง ๆ รวมตัวกัน
ในลักษณะเครือข่ายวิสาหกิจ กล่าวคือ เมื่อสมาชิกในแต่ละครอบครัวหรือองค์กรต่าง ๆ
มีความพอเพียงขั้นพื้นฐานเป็นเบื้องต้นแล้วก็จะรวมกลุ่มกันเพื่อร่วมมือกันสร้างประโยชน์ให้แก่กลุ่มและส่วนรวม
บนพื้นฐานของการไม่เบียดเบียนกัน
การแบ่งปันช่วยเหลือซึ่งกันและกันตามกำลังและความสามารถของตนซึ่งจะสามารถทำให้
ชุมชนโดยรวมหรือเครือข่ายวิสาหกิจนั้น ๆ เกิดความพอเพียงในวิถีปฏิบัติอย่างแท้จริง ความพอเพียงในระดับประเทศ
เป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้า ซึ่งครอบคลุมทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 3
ซึ่งส่งเสริมให้ชุมชนหรือเครือข่ายวิสาหกิจสร้างความร่วมมือกับองค์กรอื่น ๆ ในประเทศ เช่น บริษัทขนาดใหญ่
ธนาคาร สถาบันวิจัย เป็นต้น การสร้างเครือข่ายความร่วมมือในลักษณะเช่นนี้จะเป็นประโยชน์ในการสืบทอดภูมิปัญญา
แลกเปลี่ยนความรู้ เทคโนโลยี และบทเรียนจากการพัฒนา หรือร่วมมือกันพัฒนา ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
ทำให้ประเทศอันเป็นสังคมใหญ่อันประกอบด้วยชุมชน องค์กร และธุรกิจต่าง ๆ
ที่ดำเนินชีวิตอย่างพอเพียงกลายเป็นเครือข่ายชุมชนพอเพียงที่เชื่อมโยงกันด้วยหลัก ไม่เบียดเบียน แบ่งปัน
และช่วยเหลือซึ่งกันและกันได้ในที่สุด

 

จากการยึด หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นแนวทางปฏิบัตินั้น คาดว่าผลที่จะได้รับจากการประยุกต์ใช้คือ
การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม
ความรู้และเทคโนโลยี
จะเห็นได้ว่าหากประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ยึดถือปรัชญานี้เป็นแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตน มีสำนึกในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติปัญญาและความรอบคอบ ประเทศไทยจะสงบสุข ร่มเย็นยืนหยัดอยู่ได้ด้วย 
ความสามารถ ความร่วมมือร่วมใจของคนไทยทุกคน

สุดท้ายนี้ผมขออัญเชิญ “พระบรมราโชวาท” พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่พระราชทานแก่นิสิตที่สำเร็จการศึกษาจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อ ๑๒ กรกฎาคม ๒๔๙๙ ความว่า


การที่จะประกอบกิจการใดๆ ให้เจริญเป็นผลดีนั้น ย่อมต้องอาศัยความอุตสาหะพากเพียร และความซื่อสัตย์ สุจริต เป็นรากฐานสำคัญ ประกอบกับจะต้องเป็นผู้มีจิตเมตตากรุณา ไม่เบียดเบียนผู้อื่น และพร้อมที่จะบำเพ็ญประโยชน์ ให้เกิดแก่ส่วนรวมตามโอกาสอีกด้วย

·       

 

เพื่อพัฒนาความรู้ ความเข้าใจ การทำปุ๋ยหมักตื่นตัว และสวนผักปลอดภัย

 

 

การดูแลตัวเองได้ ดีที่สุดค่ะ

#แตกต่าง.แต่.ไม่แตกแยก#

“…การฝึกหัดทางใจนี้สำคัญอย่างยิ่งยวด จำเป็นที่จะต้องระมัดระวังฝึกฝนอยู่เสมอตลอดชีวิต จึงจะคงความสุจริต เข้มแข็ง และเป็นระเบียบไว้ได้ไม่พ่ายแพ้แก่ความลุ่มหลงลืมตัว…”

 

พระบรมราโชวาท 
ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรและอนุปริญญาบัตร 
แก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประจำปีการศึกษา ๒๕๑๕ 
ณ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วันศุกร์ที่ ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๑๖

เพื่อพัฒนาความรู้ ความเข้าใจ การทำปุ๋ยหมักตื่นตัว และสวนผักปลอดภัย

 

 

หน้า