จะเอาไปใช้ ....

หมวดหมู่ของบล็อก: 

     วันก่อน ข้าพเจ้าได้เขียนบล็อก บล็อกหนึ่ง แล้วได้รับความกรุณา จากสมาชิกท่านหนึ่ง เข้าไป Comment ไว้ด้วยข้อความว่า

     “รู้ว่ารู้ ดีที่สุด

     รู้ว่าไม่รู้ คนฉลาด

     ไม่รู้ว่ารู้ ขี้ลืม

     ไม่รู้ว่าไม่รู้ โง่ อวิชชาครอบงำ

       ข้าพเจ้าอ่านแล้ว ปีติ ขนลุก นึกขอบคุณท่านผู้รู้ คือ ที่ยกข้อความเตือนสตินี้มาให้อ่าน และท่านผู้นั้น คือ “ลุงพี” ..... (ขออภัยที่เอ่ยนาม) ซึ่งข้าพเจ้าได้ข้อคิดดี ๆ จากท่าน แล้วนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวันได้ไม่น้อย

     ท่านรู้ เข้าใจ และเห็นอะไร ตามที่เป็นจริงเยอะ

     ครั้งนี้ก็เช่นกัน ข้าพเจ้า จึงไม่พลาดโอกาส ที่จะยกข้อชี้แนะ มาพิจารณาดู เพื่อนำไปปฏิบัติ เพราะย่อมยังประโยชน์ ตามควรแน่ ๆ ....

     และแล้ว .... ข้าพเจ้า ... เริ่มเข้าใจบ้าง ... ยังเบลอ ๆ อยู่บ้าง .... เกิดความสงสัยขึ้นมาใหม่บ้าง เช่น ....

       “รู้ว่ารู้  แล้วชี้”คือ ....? =  .... ?

       “รู้ว่ารู้  แล้วไม่ชี้”คือ ....? =  .... ?

       “รู้ว่าไม่รู้  แล้วชี้”คือ ....? =  .... ?

       “รู้ว่าไม่รู้  แล้วไม่ชี้”คือ ....? =  .... ?

       “ไม่รู้ว่ารู้  แล้วชี้”คือ ....? =  .... ?

       “ไม่รู้ว่ารู้  แล้วไม่ชี้”คือ ....? =  .... ?

       “ไม่รู้ว่าไม่รู้  แล้วชี้”คือ ....? =  .... ?

       “ไม่รู้ว่าไม่รู้  แล้วไม่ชี้”คือ ....? =  .... ?

    มึน ครับ มึน .... พักสงบอารมณ์สักครู่ ค่อยพิจาณาใหม่ ฮึ ๆ ๆ ๆ ...

ความเห็น

:confused:

:sweating:

ต้องตีความหมายให้แตก ........   มึนเหมือนกัน    ????      ขอไปตั้งหลักก่อนเด้อออออ  ????

:confused: :bye:

กินอยู่อย่างพอเพียง ไม่ขี้อิจฉา ชอบสันโดษ รักธรรมชาติ

ลึกล้ำ  ลึกล้ำ

 ส่วนใหญ่..จะเป็นไม่รู้..ว่ารู้..แล้วชี้...ซะมาก... ( อวดรู้)

คิดให้แตกต่าง...แต่อย่าแตกแยก

จุดใต้ตำตอครับป้าต่าย ที่ผมได้ข้อความอันนี้มาก็จากคนแบบที่ป้าต่ายบอกน่ะครับ

"ส่วนใหญ่..จะเป็นไม่รู้..ว่ารู้..แล้วชี้...ซะมาก... ( อวดรู้)"

เค้าเป็นด๊อกเตอร์เอาประโยคนี้ (รู้ว่ารู้ รู้ว่าไม่รู้ ไม่รู้ว่ารู้ ไม่รู้ว่าไม่รู้) มาสอนผู้เข้าร่วมสัมมนาโดยตีความแบบ

"รู้แล้วบอกว่ารู้    รู้แล้วบอกว่าไม่รู้   ไม่รู้แล้วบอกว่ารู้   ไม่รู้แล้วบอกว่าไม่รู้"

ตอนนั้นผมสงสัยงุนงงกับความหมาย ได้แต่เก็บความสงสัยไว้แล้วมาหาความรู้เพิ่มเติม จึงเข้าใจความหมายที่แท้จริงในประโยคนี้

 

ในประโยคนี้กริยามีคำเดียวครับ คือการ"รู้"และ"ไม่รู้"

ส่วน"ว่า"นั้นเป็นคำสันธานที่มาบอกว่าอาการรู้และไม่รู้นั้นเป็นอย่างไร มิได้เป็นกริยาอาการบอกผู้อื่นแต่อย่างใด ประโยคนี้เป็นการแบ่งบุคคลสี่เหล่าแบบบัวสี่ประเภทน่ะครับ (รู้ว่ารู้ บัวตั้งขึ้นพ้นน้ำ , รู้ว่าไม่รู้ บัวตั้งอยู่เสมอน้ำ , ไม่รู้ว่ารู้ บัวจมอยู่ในน้ำ , ไม่รู้ว่าไม่รู้ บัวใต้น้ำ) ส่วนที่ลุงพาโลมาต่อยอดเอาคำว่าชี้เพิ่มเข้าไปด้วยนี่ ผมว่าอาจจะแปลความล่วงไปได้ถึงบุคคลสี่คู่แปดบุรุษก็ได้นะครับ



พอกิน พอใช้ พอใจ คือความหมายของ พอเพียง

ตอนต้นพอเข้าใจ แต่ดูคำถามแลังมึนเหมือนกันไม่รู้จะตอบอะไรดี ขอบคุณข้อมูลดีค่ะ

อยากรู้ความหมาย .. อธิบายให้เกิดเป็นวิทยาทานด้วยค่ะคุณลุงพาโล  

เพราะตอนนี้อยู่ในสภาวะ  รู้ว่าตัวเองไม่รู้  และจะต้องเรียนรู้ เพื่อให้รู้..เจ้าค่ะ:admire2:

.................

   เป็นปัญหา ที่ลุงต่อยอด ซึ่งลุงต้องตอบตัวลุงเอง โดยต้องเข้าไปเห็น บางข้อ ลุงก็ตอบตัวเองได้ แต่อาจไม่ถูกต้องนัก เช่น

   รู้ว่ารู้ แล้วชี้ ก็คือผู้ชี้ รู้ ... เห็น ในสิ่งนั้นถ่องแท้ เช่น ศาสดา ของทุกศาสนา ผู้รู้เห็นเป็นสัมมทิฐิ เอาสิ่งที่รู้เห็น มาชี้ หากผู้ได้รับคำชี้แนะ แล้วปฏิติตาม ย่อมเกิดประโยชน์ต่อการดำรงชีวิต .... ฯลฯ

    แต่บางข้อ ลุงก็ยังต้องค้นหาอยู่ เช่นกัน เพื่อตอบลุงเอง ไง

   ใตรคิดได้ ... ก็บอกเล่ากันบ้าง

          เพื่อเป็นธรรมทาน  จะเป็นพระคุณยิ่ง

"ผมขนลุกตรงนี้ครับลุง"

บอกสั้นเพียงแค่นี้ก็พอผมรู้ว่าลุงรู้ว่าผมรู้ว่าลุงรู้

พอกิน พอใช้ พอใจ คือความหมายของ พอเพียง

ยินดีอย่างยิ่งค่ะ ที่มีผู้หลัก ผู้ใหญ่ นำแนวคิดดีๆ ให้กับพวกเราสมาชิกบ้านสวนฯ ที่มีพรรษาน้อย  และอย่างน้อยๆ ก็จะทำให้ช่องว่างระหว่างวัยแคบลง ซึ่งจะทำให้รู้ว่าผู้ใหญ่คิดอย่างไร เด็กเข้าใจได้อย่างไรค่ะ (อันนี้ข้าพเจ้าเอง หวังว่าท่านคงไม่ว่ากะไรที่ข้าพเจ้าเขียนเยอะขนาดนี้นะจ๊ะ)

หน้า