กสิกรรมปิฎก

หมวดหมู่ของบล็อก: 

    ก่อนอื่นใด ทั้งสิ้น ทั้งหลาย ทั้งปวง ทั้งเหม็ด ข้าพเจ้าต้องขออภัยอย่างยิ่งที่ ต้องเอ่ยถึงสถานที่แห่งหนึ่ง ซึงในห้วงเวลาหลัง ๆ นี้ ข้าพเจ้านำมาอ้างอิงบ่อย จนน่าเบื่อ... เกริ่นมาขนาดนี้ หลาย ๆ ท่านส่วนใหญ่ก็ร้องในใจ และคงมีบางส่วนพึมพำสำเนียง เบา ๆ ที่จับความได้ว่า

         .....  “เออ .... ‘ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติสองสลึง’ ...  อีกละซี”

    ซึ่งข้าพเจ้า ก็จะค้อมศีรษะแสดงอากัปยอมรับโดยดุษณี  พร้อม  เอ่ยอย่างหนักแน่นว่า “ถูกต้องนะ คราาาา...บ

    ก็สืบเนื่องจากที่ได้ไปเข้ารับการอบรม เมื่อวันก่อนนั่นแหละครับ ...

      วันสุดท้ายของการอบรม เพื่อน ๆ (ตอนนั้นเป็นพื่อนกัน อายุยังถูกขังอยู่ในหม้อ ที่มียันต์ผนึกปากไว้) สมช. ที่เข้ารับการ อบรม และ ทางศูนย์ฯ ร่วมกันแสดงมุทิตาจิต เนื่องในโอกาสคล้ายวันเกิด ของข้าพเจ้า ... มิตรภาพอันบริสุทธิ์ที่หยิบยื่นมาในวันนั้น สร้างความตื้นตัน ให้บังเกิดแก่ข้าพเจ้า จนน้ำตาแทบไหล ... ซึ่งจะตราไว้ในดวงจิต เพื่อเป็นพลังในการสร้างประโยชน์ให้แก่บ้านสวนของเรา ตามศักย์ภาพที่มี

    หนึ่งในของขวัญที่ได้รับ  นอกจากมิตรภาพที่ล้ำค่าจาก สมช. ที่เพิ่งเจอกันไม่ถึง 3 วัน ... แล้วอีกสิ่งหนึ่งที่ยังประโยชน์ได้ไม่น้อย คือ

 

 

 

 

   หนังสือ เล่มนี้ครับผม พิมพ์หน้าปกไว้ว่า

  “องค์ความรู้และภูมิปัญญาปราชญ์ชาวบ้าน ... ภายใต้โครงการพัฒนาการเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่ ... โดยยึดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

 

 

 

 

 

 

    เนื้อหาภายใน บันทึกความสำเร็จจากการทดลอง และกระบวนการที่ไปให้ถึงความสำเร็จนั้น จัดหมวดหมู่ ไว้ 9 บท ประกอบด้วยเรื่องต่าง ๆ อาทิ :-

 บทที่ 1 ระบบเกษตรกรรมยั่งยืน             รวบรวมเนื้อหาไว้            9 เรื่อง

 บทที่ 2 การเพาะปลูกและการเลี้ยงสัตว์     รวบรวมเนื้อหาไว้           30 กิจกรรม

 บทที่ 3 ปุ๋ยอินทรีย์และสารชีวภาพ          รวบรวมกระบวนการผลิตไว้ 14 สูตร

 บทที่ 4 การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร  รวบรวมกระบวนการผลิตไว้ 20 ผลิตภัณฑ์

 บทที่ 5 เครื่องอุปโภคในครัวเรือน          รวบรวมกระบวนการผลิตไว้   6 ผลิตภัณฑ์

 บทที่ 6 พลังงานทดแทน                    รวบรวมวิธีการสร้างไว้        7 ชนิด

 บทที่ 7 สมุนไพรไทย                        รวบรวมเนื้อหา                5 เรื่อง

 บทที่ 8 การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

          และสิ่งแวดล้อม                     รวบรวมเนื้อหา                5 เรื่อง

 บทที่ 9 องค์ความรู้อื่น ๆ                     รวบรวมเนื้อหา               7 เรื่อง

    ทั้งหมด ทั้งสิ้นเหล่านั้น มีบางเรื่องที่ข้าพเจ้าเปิดอ่านไปบ้างแล้ว  ... ขณะอ่านบังเกิดเเว๊บหนึ่ง แห่งสำนึกบอกว่า .....  หนังสือฉบับนี้  บันทึกรวบรวมแนวทางปฏิบัติกิจกรรม  ทางกสิกรรม ประหนึ่ง “ปิฎก” ....

    แล้ว ประกายสำนึกนั้น ... ลุกลามความคิด ออกเป็นแสงสว่างให้มองเห็นว่า ศักดิ์ และสิทธิ์ แห่ง “ปิฎก”  มิใช่อยู่ที่เก็บไว้ชื่นชม .... หรือ อ่านให้จำ ไว้เจรจาโอ้อวด หรือสอนใคร ๆ เพื่อยกหูชูหาง ... หรือด้วยหลงผิดว่าศักดิ์สิทธ์บันดาน อะไรต่อมิอะไรให้สำเร็จได้  ด้วยการท่องบ่น กราบไหว้ ....

    ... แต่ ศักดิ์ และสิทธิ์ แห่ง “ปิฎก” อยู่ที่เอามาอ่าน - ประมวลสาระ เพื่อค้นหาหลัก แล้วลงมือปฏิบัติ ตามแนวที่กล่าวไว้ใน “ปิฎก” ... ให้รู้แจ้ง เห็นจริง ด้วยตนเอง

       ข้าพเจ้า จึงตั้งใจว่า จะปฏิบัติ ตามแนวที่ปรากฏใน “ปิฎก” เล่มนี้

    อานิสงส์ ที่ปฏิบัติตามวิถีนี้ ... หากความสำเร็จพึงมี พึงเกิด ... จะได้บอกให้คนอื่นเข้ามาลองบ้าง ...

    ... มิได้คิดตั้งตนเป็นพหูสูต แต่จะพิจารณาศึกษาเท่าที่เห็นว่ายังประโยชน์และจำเป็น ...ให้สมความตั้งใจของผู้มอบ

      “ปิฎก” ฉบับนี้ .... ข้าพเจ้า ตั้งใจเรียกขานว่า “กสิกรรมปิฎก”

ความเห็น

คุณลุง อารมณ์ดี  ร่าเริง  ทรงภูิมิรู้

 

มีองค์ความรู้เคลื่อนที่ 

 

อยู่ใกล้คุณลุง  รู้สึกเหมือนตัวเองมีความรู้เพิ่มขึ้น

 

แต่จริงๆ  .............. เหมือนเดิม

 

คุยกับลุงเ้รื่องอะไร  เหมือนได้เติมความรู้เรื่องนั้น

 

ขอบคุณครับ    ลุงพาโล

เมื่อมีสิ่งนี้ๆ เป็นปัจจัย สิ่งนี้ๆ จึงเกิดขึ้น

  ลุงรู้ ... "แค่หางอึ่ง" .. เท่านั้น

    แล้วความรู้แค่นี้ จะไปเติมให้คนอื่นได้ไง?  แค่ใช้เองยังจะเอาเอาตัวให้รอด ได้หรือไม่ก็ไม่ทราบ

   จึงได้แต่กระตุ้นให้คนที่ รู้ดีกว่าเรา และกักตุนความรู้ไว้เยอะ ๆ นำมาใช้เพื่อยังประโยชน์ตน ประโยชน์ท่าน บ้าง .... ดีกว่า

   .... ล้นทิ้งไป เสียดาย ... ก็ตามประสาคนขี้ชิด(ขี้เหนียว)แหละ

อ่านแล้ว 2 รอบ  กำลังจะอ่านรอบที่ 3 ค่ะ ลุง

ขอบคุณความรู้ดีที่ลุงได้แบ่งปันมาให้ค่ะ

ชีวืตที่เพียงพอ..

ขอบคุณครับคุณลุงที่นำความรู้มาแบ่งปันครับ:bye:

ขอบคุณครับลุง