สภาพชนบทไทยดีมากในสายตาฝรั่ง

หมวดหมู่ของบล็อก: 

คิดอยู่นานว่าจะเอาบทความนี้เผยแพร่หรือไม่ เพราะมีบางส่วนพาดพิงนักการเมืองบางคน แต่เห็นว่าเป็นอีกมุมมองของชาวต่างชาติที่มีข้อมูลลึกซึ้งและรู้เรื่องไทยดี เปรียบเทียบไทยกับประเทศอื่นได้ดี มีตัวเลขอ้างอิง อ่านแล้วทำให้เห็นเศรษฐกิจภาคเกษตรได้ในอีกมุมหนึ่ง เลยตัดสินใจตัดเนื้อหาที่พาดพิงการเมืองออก อย่างไรเสีย บทความนี้เป็นเพียงความคิดเห็นหนึ่ง จึงควรอ่านด้วยวิจารณญาณ ขออภัยคุณ Robert Woodrow และผู้แปล ที่ตัดทอนเนื้อหาบางส่วนออก

 

 

เรื่อง คนจนในชนบทเมืองไทยที่ถูกกดขี่ มันอาจไม่เป็นอย่างที่คุณคิด

 ต่อไป นี้เป็นสิ่งที่คุณควรรู้เกี่ยวกับคนจนในชนบทของประเทศไทย พวกเขาร่ำรวยที่สุดในบรรดาคนยากจนในชนบทแห่งประเทศโลกที่สามทั้งหลาย

ชาวไร่ชาวนาใน ยุโรปและอเมริกามักมีฐานะดี แต่การเปรียบเทียบกับฐานะของชาวไร่ชาวนาไทยนั้นเป็นเรื่องไร้ความหมาย ลองนึกเปรียบเทียบช่างไม้ในชนบทอีสานกับช่างไม้แห่งเมืองเล็กๆในมลรัฐไอโอวา ดู ช่างไม้ไทยจะดูอนาถา ที่อยู่อาศัยของเขาในสายตาอเมริกันนั้นจะดูไม่มีอะไรเลย และจะดูเหมือนเขาไม่ค่อยมีความหวังอะไรในชีวิต ทว่าในความเป็นจริงคนไทยมักอาศัยในที่ของพ่อแม่พี่น้องเขาโดยไม่ต้องจ่ายค่า เช่า ในอากาศเย็นสบายในชนบทไทยเขาไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายไปเพื่อต่อสู้กับความหนาว เหน็บเช่นในไอโอวา พวกเขาปลูกผักเลี้ยงไก่ไข่เลี้ยงหมูไว้บริโภคในครัวเรือนโดยไม่ต้องซื้อกิน เขามีมอเตอร์ไซค์เพื่อขี่ไปทำงาน เขามีทีวีดู ชีวิตความเป็นอยู่แบบอเมริกันที่เขาเห็นในทีวีก็แตกต่างกับการดำเนินชีวิต แบบไทยๆที่เขาคุ้นเคยเสียจนไม่มีความรู้สึกอิจฉาชาวอเมริกันเลยสักนิด

 

ทุกๆ หมู่บ้านในไทยมีไฟฟ้าใช้มานาน  ชาวบ้านมีตู้เย็นหม้อหุงข้าวไฟฟ้าทีวีวิทยุและพัดลมไฟฟ้าใช้มาเป็นเวลานาน แล้ว เกือบทุกบ้านในชนบทมีมอเตอร์ไซค์แม้มันจะโทรมหรือเก่าแค่ไหนก็ตาม ในทุกๆหมู่บ้านจะมีหลายครอบครัวที่มีรถปิคอัพใช้ ชาวนาเลิกใช้วัวควายไปแล้วเหลืออยู่ก็แต่ในท้องที่ไกลมากๆ ถ้าชาวไร่ชาวนาใดไม่มีรถอีแต๋นไว้ใช้ทำไร่ทำนาพวกเขาก็สามารถเช่าหรือยืมได้ จากเพื่อนบ้าน 

ชาวไร่ชาวนาไทยที่ไร้ที่ทำกินนั้นมีอยู่ แต่ก็มีเป็นจำนวนน้อยมากเมื่อเทียบกับในฟิลิปปินส์ อินเดียและประเทศส่วนใหญ่ในอเมริกาใต้ ในไทยเราแทบไม่เคยเห็นเศรษฐีเจ้าของที่นาที่ไม่ได้เป็นชาวนาเอง ชาวนาไทยส่วนใหญ่จะเป็นเจ้าของที่นาผืนเล็กๆที่ปลอดจำนอง ที่ปลอดจำนองนั้นเป็นเพราะกฏหมายคุ้มครองล้าสมัยฉบับหนึ่งที่ไม่อนุญาติให้ เอาที่ดินประเภทนี้ไปเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันการกู้ยืม แต่พวกเขาสามารถใช้ผลผลิตที่จะได้รับในฤดูเก็บเกี่ยวถัดไปใช้ค้ำประกันได้ พวกเขามักขายผลผลิตให้กับสหกรณ์ ลูกหลานพวกเขามักหารายได้เพิ่มเติมโดยเข้าไปทำงานในเมือง

 

เมืองไทยก็ เหมือนที่สหรัฐอเมริกาที่มีผู้ยากไร้ด้อยโอกาสอยู่จำนวนหนึ่ง ตัวเลขเศรษฐกิจของไทยนั้นก็เหมือนที่อื่นๆที่เราต้องดูโดยใช้วิจารณญาน (* ที่มาของตัวเลขสถิติที่จะนำมาใช้ถัดจากนี้ให้ดูที่หมายเหตุท้ายบทความ) ตัวเลขเป็นทางการไทยผู้ยากจนมี10% ของประชากรทั้งหมด เทียบกับ 12%ในอเมริกา 14%ในอังกฤษและ36%ในบ้งคลาเทศ แน่นอนเส้นวัดระดับความยากจนของแต่ละประเทศไม่เหมือนกันเพราะการดำเนินชีวิต ที่ต่างกัน ความยากจนในเมืองไทยจึงไม่จำเป็นต้องแปลว่าการไม่มีทีวีดู หรือไม่มีมอเตอร์ไซค์เก่าๆใช้

 

สถิติการว่างงานในไทยอยู่ที่ 1.4% ซึ่งจัดว่าอยู่ในกลุ่มต่ำที่สุดในโลก แต่เป็นที่รู้กันว่าตัวเลขสถิติการว่างงานมักเชื่อถือไม่ค่อยได้ แม้แต่ในประเทศที่เจริญแล้วนักเศรษฐศาสตร์ยังถกเถียงกันว่าจะรวมถึงพวกทำงาน ไม่เต็มเวลาหรือพวกที่ไม่ยอมหางานทำดีหรือไม่ แต่สำหรับเมืองไทยงานไร้ฝีมือค่าแรงต่ำนั้นหาง่าย ตึกอพาร์ทเม้นต์ที่ผมเช่าอยู่ในกรุงเทพนั้นมีป้ายติดประกาศรับพนักงานรักษา ความปลอดภัยมาหลายสัปดาห์แล้วก็ยังติดอยู่อย่างนั้น

ในช่วงฤดูแล้งชาวไร่ ชาวนาจำนวนมากเข้ามาเป็นกรรมกรก่อสร้างในเมือง ส่วนที่เหลือเลือกที่จะมีชีวิตอย่างง่ายๆถึงไม่หรูหราแต่ก็อุดมสมบูรณ์อยู่ ที่บ้านในชนบท สองสามปีที่แล้วผมต้องใช้เวลาหลายสัปดาห์ในการหาช่างเพื่อมาต่อห้องน้ำเพิ่ม ชาวไร่ชาวนาหลายรายที่มีหัวการค้าได้กลายมาเป็นเจ้าของกิจการและทำได้ดีที เดียว นโยบายของรัฐบาลทักษิณไม่ได้มีผลอะไรที่ชัดเจนกับแรงงานทั้งหลายเหล่านี้เลย

 

ไทย ไม่มีปัญหาประชากรล้นเกิน ผู้หญิงมีบุตรกัน1.6คนโดยเฉลี่ยซึ่งต่ำกว่าอัตราการตายซึ่งหมายความว่าจำนวน ประชากรจะลดลงหากไทยไม่สนับสนุนการอพยพของชนชาติอื่นให้เข้ามาอยู่อาศัย การลดของขนาดครอบครัวไทยเป็นผลมาจากการให้ความรู้เรื่องผลดีทางเศรษฐกิจที่ มีต่อครอบครัวขนาดเล็กซึ่งเป็นวิธีการเดียวกับที่ใช้ได้ผลทำให้ประชากรลดลง มาแล้วในยุโรปและญี่ปุ่น ในเมืองไทยการรณรงค์เหล่านี้ได้เริ่มมาร่วมห้าสิบปีแล้ว

 

ปัญหาการ กระจายความร่ำรวยในไทยนั้นไม่ได้เลวร้ายไปกว่าชาติอุตสาหกรรมใดๆเลย คนยากจนที่สุด10% ของประชากรไทยเป็นเจ้าของ2.6%ของทรัพย์สินทั้งหมด คนรวยที่สุด10% ของประชากรไทยเป็นเจ้าของ33.7%ของทรัพย์สินทั้งหมดที่มีในชาติ เมื่อเทียบกันสหรัฐอเมริกามี2% และ30% อังกฤษมี2.1% และ28.5% ตามลำดับทรัพย์สินของคนจนสุด10% และรวยสุด10% ถึงแม้ตัวเลขสถิติเหล่านี้จะเชื่อไม่ได้ร้อยเปอร์เซนต์ แต่ที่น่าเชื่อถือได้อย่างไม่มีข้อสงสัยเลยก็คือการกระจายรายได้ของไทยนั้น มีความเท่าเทียมกันมากกว่าในประเทศจีน อินเดีย บราซิล หรืออาฟริกาใต้ แม้แต่หมู่บ้านถิ่นธุรกันดารของไทยโดยเฉพาะในบริเวณที่ราบภาคกลางก็ยังดู มั่งคั่งกว่าหมู่บ้านในชนบทของประเทศปากีสถาน และจะกลายเป็นแดนในอุดมคติไปในทันทีเมื่อเทียบกับหมู่บ้านส่วนใหญ่ในประเทศ ไนจีเรีย

ถนนเมนทุกสายในเมืองไทยเป็นถนนราดยางหรือไม่ก็คอนกรีต ซึ่งดีเทียบเท่ามาตรฐาณประเทศโลกที่หนึ่ง ถนนรองส่วนใหญ่ก็ราดยางซึ่งถนนเข้าหมู่บ้านชนบทห่างไกลรวมทั้งในอีสานและ เหนือแม้จะเป็นหมู่บ้านจนที่สุดก็มีถนนดี

ใน กรุงเทพนั้นมีสลัม แต่ในเมื่อทุกคนมามีงานทำในกรุงเทพพวกเขาก็มักเลือกที่จะอยู่ในสลัมเพราะ อยู่ฟรีโดยไม่เสียค่าเช่าที่ดินเหล่านี้เพราะมันเป็นที่หลวง โสเภณีนั้นหาได้ไม่ยากเพราะรายได้จากการขายตัวนั้นมากกว่ารายได้จากการทำงาน ในโรงงานถึงห้าเท่าตัวหรือมากกว่า คนตาบอดหรือพิการสามารถขอเงินช่วยเหลือได้จากรัฐแต่ทว่าการขอทานจะมีรายได้ งามกว่า เขาต่างก็เลือกทางเดินชีวิตเองและดีชั่วอยู่ย่อมอยู่ที่ตัวเขาเองทั้งนั้น

 

การ รักษาพยาบาลผู้ป่วยอนาถาโดยโรงพยาบาล การรักษาผู้ป่วยอนาถาถึงมันจะไม่เป็นระดับโลกแต่มันก็ยังเป็นการรักษาพยาบาล ถ้าคนป่วยไม่มีสตางค์ค่าผ่าตัดซึ่งราคาก็ไม่ได้แพง เขาก็จะได้รับการยกหนี้ให้ ไม่มีคนป่วยรายใดที่โรงพยาบาลรัฐจะปฏิเสธไม่รับ แพทย์ผู้สำเร็จการศึกษาก็ด้วยทุนของรัฐและจะต้องทำงานใช้หนี้รัฐโดยได้รับ เงินเดือนไม่แพงในโรงพยาบาลชนบทไปจนกระทั่งชดใช้ค่าเล่าเรียนหมด 

แทบ ไม่มีคนไทยคนไหนที่อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ เด็กผู้หญิงมีเวลาเรียนโดยเฉลี่ย14ปี และเด็กผู้ชายที่13ปี โปรดสังเกตุหญิงมีการศึกษามากกว่าชาย นักเรียนมัธยมปลายปีละร่วมสองล้านคนซึ่งคิดเป็น20%ของคนวัยเดียวกันได้เข้า เรียนในระดับอุดมศึกษาทั้งสายอาชีพและปริญญา นักเรียนที่เรียนดีก็จะได้รับทุนเล่าเรียนหลวง เรื่องราวของเด็กยากจนที่ต่อมาเป็นผู้ใหญ่ที่ประสบความสำเร็จนั้นมีมากมาย เสียกลายเป็นเรื่องธรรมดาๆ การไต่เต้าทางสังคมลักษณะนี้ได้มีมาตลอดเป็นเวลาครึ่งค่อนศัตวรรษมาแล้ว

 

อัตรา การตายในทารกแรกเกิดในไทยอยู่ที่17รายต่อ1,000 เทียบกับแองโกล่าอยู่ที่180 อัฟกานิสถานที่153 และ 6 ในสหรัฐอเมริกา สถิติช่วงเวลาการมีชีวิตของคนไทยอยู่ที่ 73.1ปีในขณะที่สหรัฐอเมริกาอยู่ที่78.1ปี และรสเซียที่66.1ปี ในไทยมีผู้ติดเชื้อเอชไอวี1.4%เทียบกับสหรัฐอเมริกาอยู่ที่0.6%ของประชากร

 

ใน ประชากรทั้งหมด66ล้านคนในไทย มีโทรศัพท์มือถือลงทะเบียนถึง62ล้านเลขหมายและอีก7ล้านเลขหมายเป็นโทรศัพท์ มีสาย เครือข่ายการบริการเชื่อถือได้เทียบเท่าในยุโรป คนไทยหนึ่งในสี่มีอินเตอร์เนตใช้ บริษัทโทรศัพท์ของทักษิณซึ่งรุ่งเรืองเป็นอย่างมากในสมัยที่เขาเป็นนายก มีส่วนแบ่งการตลาดถึงหนึ่งในสามของผู้ใช้มือถือในไทย ต่อมาเขาได้ขายให้กองทุนรัฐบาลสิงคโปร์โดยหลบเลี่ยงภาษีรายได้ 

ไทยมี การส่งออกมากกว่านำเข้าอยู่เป็นประจำและมีเสน่ห์ในสายตาของนักลงทุนต่างชาติ ดังนั้นจึงมีเงินทุนสำรองมหาศาล ถึงแม้จะไม่มีทรัพยากรธรรมชาติไว้ส่งออกมากนัก แต่ไทยก็ยังมีทุนสำรองอยู่ที่ 138,000ล้านเหรียญดอลล่าร์สหรัฐซึ่งมีมากเป็นอันดับสิบของโลก เทียบกับอังกฤษมี $56,000ล้าน ขณะที่ออสเตรเลียมี $45,000ล้าน

 

มี ความเชื่อที่ผิดๆว่าไทยมีสินค้าการเกษตรเป็นสินค้าหลัก แต่ความจริงแล้วคือเป็นรถปิคอัพ มอเตอร์ไซค์และชิ้นส่วนอาหลั่ยยานยนต์เป็นหลักซึ่งเป็นสาขาของบริษัทจากต่าง ชาติ รถปิคอัพซึ่งส่งออกได้มากที่สุดถ้านับแบบประเภทเดี่ยวของสินค้าส่งออกนั้น แทบไม่มีส่วนประกอบที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศเลย บริษัทผลิตรถยนต์ญี่ปุ่นรายหนึ่งส่งรถปิคอัพหนึ่งตันจากเมืองไทยแหล่งเดียว เท่านั้นไปขายทั่วโลกรวมทั้งในญี่ปุ่นเอง เครื่องจักรกลก็เป็นสินค้าส่งออกหลักอีกประเภทหนึ่ง นอกนั้นยังมีชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ อิเลคโทรนิค สิ่งทอ เสื้อผ้า รองเท้า อาหารสำเร็จรูป อาหารสัตว์ สิ่งที่ทำเงินตราต่างประเทศในระดับต่ำกว่านั้นก็จะเป็นข้าว น้ำตาลและตามด้วยการท่องเที่ยว 

ในหลายปีที่ผ่านมารัฐบาลสามารถทำการ ค้าได้เกินดุลย์ ทำบัญชีเดินสะพัดได้เกินดุลย์และทำงบประมาณได้เกินดุลย์เช่นกัน (แต่ปีนี้งบประมาณขาดดุลย์)

 

นับตั้งแต่ปีพ.ศ.2503 ไม่มีชาติที่กำลังพัฒนาชาติใดในโลกที่จะมีการเติบโตของค่าGDPเฉลี่ยต่อจำนวน ประชากรได้เกินกว่าของประเทศไทย ถึงแม้ชาวนาไทยยังยากจนในสายตาตะวันตก แต่พวกเขาก็ได้รับส่วนแบ่งจากความมั่งคั่งเหล่านั้น และพวกเขาก็มีความกินดีอยู่ดีมากกว่าคนในชนบทในประเทศใดๆในประเทศแห่งโลกที่ สาม

 

 

* ตัวเลขสถิติทั้งหลายในบทความนี้แต่ละตัวได้ถูกตรวจสอบโดยการเปรียบเทียบกับ อย่างน้อยสามแหล่งจากหน่วยงานต่างๆดังนี้ UNICEF, UNDP,ธนาคารโลก, ADB, IMF, CIA, WHO, ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานสถิติแห่งชาติ

ไม่มีตัวเลข ใดๆในบทความนี้ที่ยกเอามาจากหน่วยงานของไทยล้วนโดยไม่ปรียบเทียบกับตัวเลข ของหน่วยงานนอกประเทศไทย

ขอขอบคุณ คุณRobert Woodrow

ความเห็น

พี่ตั้มขอบคุณมาก ๆ นะคะ อ่านแล้วก็เห็นด้วยกับผู้เขียนนะคะ .... (ก้อยอาจจะชาตินิยมนิดนึง) ... บ้านเราหย่อนเมล็ดอะไรลงดินก็ขึ้น ประเทศอื่นๆ เค้าทำเกษตรได้ยากกว่าเยอะ..อากาศหนาวก็พอกล้อมแกล้ม (ในบางพื้นที่) อากาศร้อนก็ยังมีลมเย็นต้นไม้ให้พึ่งพิง...เศรษฐกิจไม่ดีแต่ก็ไม่อดหากกินผักต้มกะน้ำพริกได้  แค่ไม่มีเงินจะซื้อของฟุ่มเฟือย หรือปลูกบ้านหรูหรา....

...2553 ปีที่ 1 ที่เริ่มเดินตามรอยพ่อ...

ขอบคุณเจ้าของกระทู้ครับ ได้รับข้อมูลดีๆ รู้สึกปลื้มแทนคนในชนบทจริงๆ เหมือนกับที่คูณsatjang ว่า เศรษฐกิจไม่ดี แต่คนไม่อด ยิ่งคนชนบท เก็บผักข้างรั้ว ร่องคู ในป่ามาทำอาหารกินสบายไปเป็นมื้อๆ ไม่ต้องคิดอะไรมาก

..โอกาสไม่ได้มีทุกวัน..

 

รักเธอประเทศไทย

"เชื่อในผล แห่งการทำความดี"

โฮ้ อ่านแล้วรู้สึกดีมากๆเลยกระทู้นี้

เพราะตามชนบทยังมีความเป็นอยู่พี่น้องมีอะไรแบ่งปันกัน

ขอบคุณสำหรับข้อมูลที่อ่านด้วยนะค่ะ

ในชนบทมีอะไรที่คนในเมืองไม่มีค่ะ

มาขอเป็นสมาชิกใหม่ค่ะ

เป็นมุมมองของคนๆหนึ่ง

แต่ก็สะท้อน ทั้งความรู้สึกต่อระดับความเป็นอยู่ของคนไทย

และ สภาพความเป็นอยู่แบบวิถีไทย

 

การนำเสนอในเชิงบวก ทำให้เรา รู้สึกยอมรับความคิดเห็นนี้ได้ง่าย

 

 ถ้าเรารักสามัคคีกันมากกว่านี้ ประเทศไทยจะเจริญเติบโตแค่ไหน ลองคิดดู

มุมมอง ฝรั่งมองคนไทย...บางอย่างก็อาจจะมองจากตัวเลขที่อาจไม่จริง แต่งเสียสวยหรูจากหน่วยงานไหนก็ไม่รู้..

ตัวอย่างเช่น

**มุมมองแทบไม่มีคนไทยคนไหนที่อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้...ขอค้านคะ ยังมีอยู่พอสมควรแหละ เช่น แถวสลัม คนจรจัด ชนกลุ่มน้อยด้านศาสนา เชื้อชาติ..

**พวกเขาก็มีความกินดีอยู่ดีมากกว่าคนในชนบทในประเทศใดๆในประเทศแห่งโลกที่ สาม...เราอยากจะเขยิบไปอยู่ประเทศที่กำลังพัฒนา หรือพัฒนาแล้วค่ะ เป็นประเทศด้อยพัฒนามานานแสนนานแล้ว ที่จริงเค้าก็จัดเราเป็น..กำลังพัฒนา แต่คุณก็ยังจัดอันดับต่ำสุดให้เราอยู่ดี

แม้จะเป็นหมู่บ้านจนที่สุดก็มีถนนดี...รายการทีวีช่อง 7 3 เสนอออกบ่อยเรื่องถนนเนี่ยย.. ไม่ทราบเคยมาไทยหรือปล่าวหรือนั่งเทียนเขียนคะ 555

ขอแค่นี้ก่อนคะ ไม่ทราบ Robert Woodrod เขียนลงที่ไหนคะคุณตั้ม

สุดท้ายต้องขอบคุณที่นำมาให้อ่าน..และแบ่งปัน

 

_________________________  

Our way is not soft grass, it’s a mountain path with lots of rocks. But it goes upward, forward, toward the sun. – Ruth Westheimer

หมู่บ้านเขยฝรั่งทางอิสาน   พวกฝรั่งอยากมาอยู่เมืองไทย  นั่นหมายถึง  พวกเค้าชอบความเป็นอยู่อย่างไทย ซึ่งบ้านเมืองเค้าไม่มี

แต่อิ๋วก็ยังเป็นคนไทย สายเลือดและบรรพบุรุษก็เป็นคนไทย นี่ก็เป็นสิ่งหนึ่งที่อิ๋วภาคภูมิใจ ยังไงก็ทิ้งบ้านเกิดไม่ได้ ( คนญี่ปุ่นถามบ่อยทำไมไม่โอนสัญชาติเป็นคนญี่ปุ่น )

ทุกวินาทีมีค่า ถ้าเรามีความหวังเราจะไม่เคยพ่ายแพ้

หน้า