เตาเคี่ยวตาล @ รำแดงชุมชนแห่งการเรียนรู้

หมวดหมู่ของบล็อก: 

                                

ภูมิปัญญาการทำตาล บนคาบสมุทรสทิงพระ สงขลา นับวันจะจางคลายแต่ไม่ถึงกับขาดหายไปจากวิถีชีวิตจริงและวัฒนธรรม การประมวลองค์ความรู้ไว้อย่างเป็นระบบ หมวดหมู่จึงเป็นเรื่องที่จำเป็น ต่อเนื่องจากฐานเรียนรู้เรื่องบ้านตาล  เช้านี้ขอพาพี่น้องเข้าสู่ ฐานการเรียนรู้เรื่องเตาเคี่ยวตาลที่รำแดง กันนะคะ

โรงเตาเคี่ยวน้ำตาลสด ที่บันทึกองค์ความรู้ไว้อย่างเป็นรูปธรรม ของลุงเพียร ใช้ทางตาลเป็นรั้ว หลังคาตับตาล โครงสร้างไม้ไผ่และไม้เก่าๆ เพื่อให้โปร่งโล่ง

บอร์ดสื่อความหมายใช้ภาพ บรรยายสั้นกระชับตรงไปตรงมา ช่วยให้ผู้ที่มาเรียนรู้เข้าใจทั้งเนื้อหาภูมิปัญญาและรูปแบบ เรียกว่า การถอดองค์ความรู้ที่ฝังอยู่ในตัวคนออกมา

การสื่อความหมายปัจจุบัน เลอะเทอะมาก โดยเฉพาะการใช้แผ่นไวนิลพิมพ์ภาพตัวเอง(สไตล์นักการเมือง)มันพอกพูนอัตตา"ตัวกู ของกู"อย่าไปเอาอย่างมาใช้ในการสื่อเพื่อการศึกษาเรียนรู้เลยขอรับ เพราะสังคมที่ใช้เงินและอำนาจขับเคลื่อน ทำให้ประเทศเราจึงประสบภาวะวิกฤติรอบด้าน เราไม่ตระหนักที่จะใช้ความรู้ความสามารถนำสังคม

ลุงเพียรครูตัวจริงเริ่มมีงานเข้า สอนนักศึกษาสถาปัตถยกรรมเทคโนสงขลา พี่หยอยเป็นเพียงผู้จัดกระบวนการเรียนรู้อยู่เบื้องหลัง

โดยส่วนตัวชอบหลังคาโรงเตาที่ทำสองชั้นอย่างมีศิลปะ ลุงเพียรบอกว่า เขาต้องการให้ควันไฟถ่ายเทสะดวก หลักวิธีคิดอย่างพึ่งตนเองทำให้เกิดปัญญาแตกฉานเสมอ หลักวิธีคิดที่รับจ้างหาเงินส่งให้เด็กๆเรียนอย่างเดียว ทำให้เด็กคิดไม่เป็นทำอะไรไม่เป็น ช่วยเหลือตัวเองในเรื่องพื้นฐานชีวิตไม่ได้ น่าห่วงขอรับ เราชาวบ้านสวนต้องช่วยกันเสริมประสบการณ์ชีวิตใหเด็กๆใกล้ตัว มีจังหวะรีบทำเลยขอรับ

ทุ่งและดงตาลยังยั่งยืนตราบที่ผู้คนบนคาบสมุทรสทิงพระ ยังกินข้าวกินน้ำตาลโตนด

ดอกไม้ นก ปลา จากใบตาลสอดสานไว้รอผู้ไปเยือน รำแดง

 

 

 

     

ความเห็น

อยูตรงไหนนี่ ..กลับบ้านจะไปเที่ยวมั้ง

คิดถึงจังเสียยยยย อยู่ใกล้ๆเชิงแสบ้านเกิดพี่นั้นแหละ สิงหนคร ตำบลรำแดงจ้า

ตื่นมาเคี่ยวตาลตั้งแต่ตีสี่เลยนะคะ.....


:uhuhuh:


 

นอนหัวค่ำ ตื่นเช้า ทีวีไม่แล ทำไหรได้ตั้งกะลุยเหม็ดน้องเห้อ

สวัสดีค่ะ การเคี่ยวตาลแบบโบราณ ควรจะรักษาให้ลูกหลานได้ศึกษาวัฒธรรมดั่งเดิมไว้ เพราะสมัยนี้หาดูยากแล้ว ขอบคุณมากค่ะ ที่นำมาให้ชม  :bye:

ชีวิตที่เรียบง่ายกับความพอใจในสิ่งที่มี

ขอบคุณที่เข้าชม พี่เท่งไม่คิดค่าลงทะเบียนจ้า55555

 ผมเคยไปดูการเคี่ยวน้ำตาลมะพร้าวที่แม่กลอง รู้สึกว่ารูปแบบเตาจะแตกต่างจากที่คุณหยอยนำเสนอ แต่ผมเห็นรูปเตานี้ไม่ชัดว่ามีองค์ประกอบอะไรบ้าง ที่ไม่เห็นคือปล่องควัน มีมั๊ยครับ

เตาแบบนี้ไม่ต้องใช้ปล่องควัน เพราะโรงเตาทำหลังคาสองชั้น ให้ควันไฟถ่ายเทลมจะดูดขึ้นหลังคา โดยอัตโนมัติ ครับผม

 รูปแบบของแม่กลอง จะไม่มีควันภายในโรงเคี่ยวตาล และไม่มีควันออกมาทางก้นกระทะ ควันจะถูกดูดออกทางปล่องควันทั้งหมด และที่ต่างอีกอย่างคือช่องใส่ฟืนของแม่กลองจะยาวกว่าครับ

หอมน้ำตาลต้มหัวเช้าเลย...อาทิตย์นี้เห็นทีจะไปหาน้ำตาลต้มกินเสียแล้ว...ขอบคุณมากครับทุกทุกท่านที่ได้รักษาภูมิปัญญาของบรรพบุรุษเอาไว้...


 

หน้า