เพอร์มาคัลเจอร์ #6.3 : ปรับแต่ง swale

หมวดหมู่ของบล็อก: 

และแล้วสิ่งที่รอคอยก็มาถึง ฝนขนาด 11.5 มิลลิเมตร  บรรยากาศหลังฝนตกมันช่างแตกต่างกับความแห้งแล้งก่อนหน้านี้สัก 2 ชั่วโมง  เราอยู่ในเมืองมายา หรือไม่เนี่ย  ดินที่แข็งมากๆ ก็อ่อนตัวอย่างรวดเร็ว  แต่บริเวณที่ดินอัดแน่นมากจนน้ำฝนไม่สามารถซึมได้ก็จะกลายเป็นแอ่ง  ฝนตกหนักขนาดนี้เป็นโอกาสอันดีในการออกไปเดินสำรวจขณะที่ฝนตกว่าน้ำฝนเดินทางอย่างไร

ดินส่วนที่เป็นทางอัดแน่นจนแม้นแต่หญ้า/วัชพืชก็ไม่สามารถงอกขึ้นได้  กลายเป็นทางน้ำไหลอย่างดี  น้ำรวมตัวกันเป็นสายน้ำที่ใหญ่ขึ้น  เป็นพลังอำนาจในการทำลาย กัดเซาะทุกอย่างที่ขวางทาง จนกว่าจะเหลือเพียงชั้นดินดานที่น้ำเริ่มกัดเซาะยาก  แต่เราก็เพาะปลูกอะไรไม่ค่อยได้

ว่าแล้วเราก็บรรจงขุดดินบนถนนด้วยอีเตอร์ ชะแลง และจอบขุด  เพื่อบากร่องขวางทางน้ำบนถนน  เพื่อเอาทยอยเอาน้ำลง swale ป้องกัน การรวมตัวเป็นทางน้ำที่มีพลังมากขึ้น

แม้นว่าจะเป็นเพียงน้ำจาก swale ด้านบนสุด  แต่ถนนก็รับน้ำที่ไหลบ่ามาจากพื้นที่อื่นทางด้านบนด้วย  เมื่อพยายามดักน้ำจากถนนเข้า swale แรงน้ำเพียงช่วงบนก็กัดเซาะดินด้านข้างของ swale เป็นร่องลึกประมาณ 6 นิ้ว  สายน้ำเล็กๆ ช่างมีพลังมหาศาลจริงๆ  ต้องแก้ไขด่วน

เรียนรู้จากร่องแรก  ท่ามกลางสายฝนผมเริ่มขุดร่องที่สองเพื่อนำพาน้ำไหลลงข้างถนน แทนการขวางทางน้ำบนถนน  ใช้ก้อนหินขวางทางน้ำคล้ายๆ ฝายแม้วขนาดจิ๋วเป็นระยะๆ เพื่อชะลอการไหลของน้ำ

แม้นแต่ช่วงที่สายน้ำจะไหลลง swale ก็จะใช้หินเป็นฝายชะลอน้ำเป็นช่วง  เพื่อหลีกเลี่ยงการกัดเซาะ 

ผลลัพธ์คือได้น้ำฝนที่กัดเซาะดินบนถนนกลายเป็นแหล่งน้ำเพิ่มเติมที่จะเข้ามาเก็บใน swale ให้น้องปอเทือง

การเผ้าสังเกตุการไหลของน้ำในวันฝนตกหนักทำให้เรียนรู้การทำงานของ swale มากขึ้น และซาบซึ้งในสองปรัชญาของเพอร์มาคัลเจอร์ที่ว่า "the problem is the solution" เมื่อหินที่ดูเหมือนอุปสรรคในตอนแรกที่ขุดดินปลูกต้นไม้กลายเป็นทางออกของอีกปัญหาหนึ่งแล้ว และน้ำฝนที่กัดเซาะถนนกลายเป็นแหล่งน้ำเพิ่มเติมสำหรับ swale  รวมถึงปรัชญาที่ว่า "working with nature rather than against it" เมื่อเราเฝ้าสังเกตุการไหลของน้ำ และปรับเปลี่ยนแบบของเราให้ทำงานร่วมกับธรรมชาติของน้ำ

เห็นผลลัพธ์ดีๆ แบบนี้แล้วอดใจรอฝนตกหนักครั้งต่อไปไม่ไหว  เพราะจะมีอะไรให้เราเรียนรู้อีกมากมาย แต่การถือจอบออกไปขุดดินเพื่อปรับแต่ง swale ท่ามกลางสายฝนกลัวอย่างเดียวก็คือ "ฟ้าผ่า" :scared:

เพอร์มาคัลเจอร์ #8.1 สระน้ำ - ต้นไม้ริมสระ
เพอร์มาคัลเจอร์ #8: สระน้ำ
เพอร์มาคัลเจอร์ #7 : สวน 3 พี่น้อง

เพอร์มาคัลเจอร์ #6.2 : ผลงานของ swale ช่วงเริ่มต้น
เพอร์มาคัลเจอร์ #6.1 : เริ่มลงมือทำ swale
เพอร์มาคัลเจอร์ #6 : การกักเก็บน้ำฝน
เพอร์มาคัลเจอร์ #5 : ภูมิอากาศ และสภาพแวดล้อม
เพอร์มาคัลเจอร์ #4 : เรื่องเล็กๆ ของการเก็บน้ำฝน
เพอร์มาคัลเจอร์ #3 : การวิเคราะห์โซนในการออกแบบภูมิทัศน์
เพอร์มาคัลเจอร์ #2 : การออกแบบรูปแบบการปลูกต้นไม้
เพอร์มาคัลเจอร์ #1 : แนะนำแนวคิดเบื้องต้น

ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://my-experimental-farm.blogspot.com

ความเห็น

ที่ดินดูๆ แล้วเป็นดินลูกรัง เวลาแห้งแล้งจะแข็ง แต่ฝนตกจะอ่อนตัวและพืชผักงามๆ จะปลูกอะไรดีช่วงนี้ ลุย! ค่ะคุณคุณธีร์ มะรุมชอบดินแบบนี้ค่ะ ต้นแคด้วย ริมสวนปลูกมะพร้าวน้ำหอมให้เป็นแนวรั้วดีนะค่ะ

:cute2: ขอบคุณสำหรับคำแนะนำครับพี่ยุพิน  ผมกลัวหน้าแล้งมาก (ยังหลอนจากปีที่แล้ว)  ปีที่แล้วต้นไม้รวมถึงต้นมะพร้าวตายเกลี้ยงทั้ง 100 เปอร์เซ็นต์ เลยขอปลูกมะพร้าว/ไผ่ ตามขอบ swale ไปก่อน  อย่างน้อยก็จะได้น้ำจากร่องบ้างครับ

“Stupidity is an attempt to iron out all differences, and not to use them or value them creatively.”
― Bill Mollison

เย้ๆๆๆ ดีใจด้วยนะคะ ชุ่มฉ่ำๆๆ

ลงไม้ลงมือซะขนาดนี้ น้ำหนักลดไปกี่โลแล้วเจ้าคะ

Laughingป้าอ้อย

:sweating: น้ำหนักไม่ค่อยลด  แต่ดูเหมือนจะค่อยๆ ได้กล้ามเนื้อมาแทนไขมันบ้าง

“Stupidity is an attempt to iron out all differences, and not to use them or value them creatively.”
― Bill Mollison

ดีใจด้วยค่ะที่ฝนตก หวังว่า น้องๆ หนูๆ คงรอดน๊ะจ๊ะ:love:


น้องปอเทือง เวลาออกดอกแล้วต้องรีบตัดและไถกลบ  ช่วงนี้จะมีธาตุไนโตรเจนเยอะ  ถ้าปล่อยไปเรื่อยๆ ไม่ทำอะไร ไนโตรเจนจะลดลงไปเรื่อยๆ ค่ะ (เจ้าหน้าที่กรมพัฒนาที่ดินบอกมา ถ้าทราบแล้ว ขออภัยด้วยค่ะ) 

ปู่ฟู (Masanobu Fukuoka) เจ้าพ่อเกษตรกรรมธรรมชาติ ได้กลั่นกรองปรัชญาการทำเกษตรธรรมชาติเป็น 5 หลักการสำคัญคือ

  • No tillage (ไม่ไถพรวน)
  • No fertilizer (ไม่ใส่ปุ๋ย)
  • No pesticides or herbicides (ไม่ใช้ยาฆ่าแมลง ยาฆ่าเชื้อรา หรือยาฆ่าวัชพืช)
  • No weeding (ไม่ถอนวัชพืช)
  • No pruning (ไม่ตัดแต่งกิ่ง)

ผมอาจจะทำตามได้ไม่ทั้งหมดในตอนนี้  แต่คิดว่าจะทำตามเรื่องการไม่ไถพรวน ดังนั้นปอเทืองจะไม่ไถพรวน  ไม่เอาเครื่องจักรเข้าไปทำงานบน swale เพราะจะไปอัด (compact) ดิน  ที่เราพยายามให้ดินโปร่งอยู่ในขณะนี้  อาจจะทำเพียงการเก็บเมล็ดปอเทือง เพื่อปลูกอย่างต่อเนื่องเพื่อเพิ่มธาตุไนโตรเจน (ทดแทนการไถพรวนตอนกำลังออกดอก)  ส่วนลำต้นให้มันค่อยๆ ถูกย่อยสลายเองไปตามธรรมชาติโดยไม่เข้าไปเร่งการย่อยสลายด้วยการพรวนดิน  ด้วยความหวังว่าต้นปอเทืองจะช่วยปกป้องกล้าไม้ที่ยังอ่อนแออยู่ ไม่มากก็น้อย

:cheer3:

“Stupidity is an attempt to iron out all differences, and not to use them or value them creatively.”
― Bill Mollison

ตอนนี้เราทำได้แค่ ไม่ใช้ยาฆ่าหญ้า ไม่ใส่ปุ๋ยเคมี จะพยายามทำให้ได้ทีละข้อ  :bye: ทีละข้อ ทีละข้อ

"เชื่อในผล แห่งการทำความดี"

ฝนตกมาทำให้ต้นไม้ดูดีขึ้นเลยนะคะ

ดีใจด้วยนะค่ะ...ฝนตกแล้ว

ชีวิตเป็นเรื่องง่ายๆ จะทำให้ยากทำไม


 

หน้า