ผักเชียงดา ผักพื้นบ้าน แต่.....

หมวดหมู่ของบล็อก: 

          ผักเชียงดา (Gymnema innodorum Dence.) ผักพื้นบ้านทางภาคเหนือของไทย พบได้ในประเทศอื่นเช่นกัน เช่น อินเดีย ศรีลังกา มาเลเซีย เวียตนาม จีน ญี่ปุ่น และแอฟริกา ผักเชียงดาใช้ประกอบอาหารทั้งผัดและแกง รวมกับผักชนิดอื่น เพราะผักเชียงดาจะทำให้รสชาติของผักอื่นๆดีขึ้น นอกจากนี้ชาวเหนือยังใช้ผักเชียงดาพอกกระหม่อมเพื่อรักษาไข้หวัด และยังใช้เป็นส่วนประกอบในตำรับยาแก้ไข้ด้วย ภาษาฮินดูเรียกผักเชียงดาว่า "Gurmar" แปลว่าผู้ฆ่าน้ำตาล เพราะถ้าลองเคี้ยวใบแก่ของผักเชียงดาแล้วลองชิมน้ำตาลทราย เราแทบจะไม่รู้รสหวานของน้ำตาลเลย

          ผักเชียงดามีคุณค่าทางโภชนาการสูง ในยอดอ่อนและใบอ่อนมีวิตามินซี เบต้าแคโรทีน และสารต้านอนุมูลอิสระในปริมาณสูง นอกจากนี้ผักเชียงดายังมี กรดจิมนีมิก (gymnemic acid) ที่มีรูปร่างโมเลกุลเหมือนน้ำตาลกลูโคส เวลาเราทานผักเชียงดาเข้าไป ลำไส้จะดูดซึมกรดจิมนีมิกเข้าสู่ร่างกาย(กระแสเลือด)ได้ดีกว่าน้ำตาล มีผลทำให้การดูดซึมน้ำตาลลดลง นอกจากลดการดูดซึมน้ำตาลแล้ว ผักเชียงดายังช่วยเพิ่มปริมาณอินซูลิน(สารที่ควบคุมปริมาณน้ำตาลในเลือด)ให้สูงขึ้น ด้วยคุณสมบัติทั้งสองอย่างนี้จึงทำให้ผักเชียงดาสามารถลดน้ำตาลในเลือดได้และดีกว่ายาแผนปัจจุบันที่ใช้รักษาโรคเบาหวานที่ชื่อ ไกลเบนคาไมด์ เสียอีก

         ผักเชียงดาจึงมีประโยชน์มากสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานและผู้ที่ต้องการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดโดยไม่ต้องอาศัยยา แต่น่าเสียดายว่าสารสกัดจากผักเชียงดาได้ถูกจดสิทธิบัตรเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานเรียบร้อยโรงเรียนญี่ปุ่นไปแล้ว เสียดายมั๊ย

หน้าตาผักเชียงดา ต้นนี้ยังเด็กอยู่ อายุเกือบปีแล้ว

ข้อมูลจาก : ศูนย์ข้อมูลสมุนไพร โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร

ความเห็น

ใครพอรู้บ้างคะ ว่าที่ไหนรับซื้อผักเชียงดาว  อยากปลูกขาย กลัวไม่มีที่ส่ง  ใครทราบบอกด้วยนะคะ

ใช่แล้วครับ เป็นผักพื้นบ้าน ภาคเหนือ นิยมแกงใส่ปลาแห้ง ผักเสี้ยว อร่อยดี นะครับ  ที่ว่าญี่ปุ่นเขาแอบจดลิขสิทธิ์เรื่องยา ไม่ใช่ เพิ่งเกิดขึ้น เขาจด มาหลายตัวแล้ว  เช่น ยาโรคกระเพาะอาหาร ก็เอาสมุนไพรไทยไปจด คือ ต้นเปล้าน้อย เป็นสมุนไพรไทย เอาไปทำยากระเพาะอาหาร แล้วจดลิขสิทธิ์ เฉยเลย  เราคนไทยต้องหวงแหน ยาของเรานะครับ 


หน้า