เพอร์มาคัลเจอร์ #2 : การออกแบบรูปแบบการปลูกต้นไม้

หมวดหมู่ของบล็อก: 

ต่อจากแนะนำเพอร์มาคัลเจอร์ในตอนที่แล้ว ในบล๊อกนี้เรามาลองเรียนรู้การเลือกรูปแบบในการใช้พื้นที่ปลูกพืชตามหลักเพอร์มาคัลเจอร์ ซึ่งนอกจากจะช่วยเพิ่มความสวยงามให้กับภูมิทัศน์แล้ว ยังสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการใช้พื้นที่ และการใช้แรงงาน  รวมทั้งเพิ่มที่อยู่ของสัตว์ตามธรรมชาติ คืนสมดุลให้กับธรรมชาติ  ตัวอย่าง เช่น เราต้องการพื้นที่เพาะปลูกขนาด 50 ตารางฟุต หน้าตาสวนของเราอาจจะเป็นแบบนี้

รูปแบบนี้จะเสียพื้นที่ทางเดิน 40 ตารางฟุต

รูปแบบนี้จะเสียพื้นที่ทางเดิน 10 ตารางฟุต

รูปแบบนี้จะเสียพื้นที่ทางเดิน 6 ตารางฟุต

เราจะเห็นว่าทั้งสามรูปแบบสามารถปลูกพืชได้ขนาด 50 ตารางฟุตเท่ากัน  แต่จะเสียพื้นที่ทางเดินแตกต่างกันทำให้เราต้องใช้พื้นที่จริงๆ มากน้อยต่างกัน  มาถึงตอนนี้เพื่อนสมาชิกบางท่านอาจคิดว่าทำไมไม่ปลูกให้เต็มพื้นที่เลยล่ะครับ มีประสิทธิภาพสูงสุด  ในทางปฏิบัติมีข้อจำกัดเรื่องการทำงานกับพืชคือ เราจะต้องมีทางเดินเพื่อเข้าไปดูแลพืชผัก  และถ้าเราทำให้พื้นที่ปลูกพืชติดกันจนกว้างเกินไป  จนทำให้เอื้อมเข้าไปดูแลต้นไม้ไม่สะดวก (ระยะแนะนำคือ 3 ฟุต ไม่เกิน 4 ฟุต  ถ้าคนทำสวนตัวเตี้ยก็จะต้องปรับลดระยะลงมานะครับ)  และถ้าเราต้องไปย่ำบนแปลงผักจะทำให้ดินแน่น ไม่เป็นผลดีต่อพืช  ส่วนความยาวแปลงไม่ควรเกิน 12 ฟุต  จะได้ไม่ต้องเดินอ้อมโดยไม่ย่ำดินบนแปลงไกลเกินไป

นอกจากนั้นควรจะเลือกปลูกผักผสมผสานทั้งพันธุ์พืช และสีของพืช เพื่อลดการแย่งอาหาร และลดปัญหาเรื่องแมลง (เราจะกลับมาพูดถึงเรื่องการปลูกพืชผสมผสานอีกครั้งในภายหลัง)  รวมทั้งเลือกปลูกพืชที่ต้องการการดูแลน้อยไว้ด้านใน ให้พืชที่ต้องการการดูแลมากไว้ด้านนอก  ตัวอย่างเช่น  เลือกผักกะหล่ำขนาดใหญ่ และเก็บเกี่ยวไม่บ่อยไว้ด้านนอก  พืชขนาดเล็กเก็บเกี่ยวบ่อย อย่างมะเขือเทศไว้ด้านใน

อาศัยหลักคิดเช่นนี้ เพื่อนสมาชิกยังสามารถจินตนาการรูปแบบการจัดแปลงผักของเราได้อีกมากมาย  เช่น สวนแบบ mandala

หรือเพื่อนสมาชิกอาจจะไปประยุกต์ใช้กับการปลูกต้นไม้ในไร่ เช่น ด้วยระยะห่างระหว่างต้นเท่ากันในพื้นที่เท่ากัน  ถ้าเราปลูกแบบสับหว่างเป็นฟันปลา หรือปลูกเป็นแถวโค้งจะทำให้สามารถปลูกต้นไม้ได้จำนวนมากขึ้น

ชักสนุกยังครับ?  อย่าหยุดจินตนาการของพวกเราเพียงแค่ 2 มิติ  เราอาจจะใช้มิติของแนวดิ่งเพิ่มเติม เช่น การจัดสวนเป็นรูปสปริงก้นหอยขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2 เมตร สูง 1 เมตร จะได้พื้นที่ปลูกพืชยาวมากกว่า 9 เมตร  แต่เราก็สามารถใช้ mini-springer ขนาด 2 เมตรรดน้ำทั้งหมดนี้ได้อย่างสบายๆ แถมเรายังปลูกพืชที่ต้องการน้ำหลากหลายได้มากขึ้น โดยปลูกพืชที่ชอบน้ำมาก (ตัวอย่าง เช่น watercress) อยู่ด้านล่าง  พืชที่ชอบน้ำน้อยอยู่ด้านบน เป็นต้น

เพื่อนสมาชิกหลายท่านอาจจะมีจินตนาการมากกว่านี้อีก  อยากให้เราเรียนรู้หลักคิดเหล่านี้มาปรับใช้ในการออกแบบการใช้พื้นที่ในบ้าน/สวน ของเรา  คำนึงถึงทั้งประสิทธิภาพในการใช้พื้นที่ การทำงานบำรุงรักษา การรดน้ำ การผสมผสานกันของพืชที่ปลูก แมลง และสัตว์ต่างๆ ในสวน  และสุดท้ายอย่าลืมเรื่องความสวยงามนะครับ  แล้วติดตามตอนต่อไปของเพอร์มาคัลเจอร์นะครับ

เพอร์มาคัลเจอร์ #1 : แนะนำแนวคิดเบื้องต้น

ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://my-experimental-farm.blogspot.com

ความเห็น

สวัสดีค่ะ  เป็นสมาชิกใหม่ยังไม่เคยมาโพสท์เลย

แต่มีความสนใจในเรื่อง permaculture อยู่  แต่ยังไม่ได้ศึกษาจริงจัง  บทความนี้ดีจังเลย  จะได้เริ่มศึกษาซะที

ถ้าจะเรียนรู้เพิ่มเติมนี่ควรจะเริ่มจากอะไรคะ  

:shy: ผมก็เพิ่งอ่านเรื่องนี้ มีแต่หนังสือภาษาอังกฤษนะครับ มีขายตั้งหลายเล่ม  แต่ของที่ Bill Mollison เขียนเองดูแล้วน่าจะเป็นแนวคิดต้นแบบ  เพราะเขาเป็นคนแรกที่พูดเรื่องนี้ออกอากาศทางวิทยุ  ของผู้แต่งคนอื่นๆ ก็จะมีส่วนที่แตกต่างกันออกไปบ้าง  เนื่องจากมันเป็นปรัชญา  และตัวอย่างที่ผู้เขียนแต่ละท่านมาแบ่งปันก็จะมาจากลักษณะภูมิอากาศ และภูมิประเทศที่แตกต่างกัน  ไม่น่าจะมีอะไรถูกผิดเท่าไหร่อ่านไปเรื่อยๆ ล่ะ อันไหนพอเอามาประยุต์ได้ก็เอามาปรับใช้ 

“Stupidity is an attempt to iron out all differences, and not to use them or value them creatively.”
― Bill Mollison

ที่เห็นมีฝรั่งมาเปิดคอร์สสอนในเมืองไทยก็มีที่ punya project อ.แม่แตงค่ะ  สอนเป็นภาษาอังกฤษ (มีแต่ฝรั่งมาเรียน)   ก็กะว่าจะเริ่มศึกษาจริงจังค่ะ   :)

น่าสนุกค่ะแต่ตอนนี้แค่กระถางจะยังไม่มีที่ตั้งเลย (คนเมืองก็งี้)

:uhuhuh: เจอปัญหาเหมือนกัน  รอเอาไปประยุกต์ใช้ที่บ้านคุณแม่ที่ ตจว. ซิครับ

“Stupidity is an attempt to iron out all differences, and not to use them or value them creatively.”
― Bill Mollison

 น่าสนใจ..  เคยชินแต่กับการปลูกเป็นตาราง สี่เหลี่ยม ๆ ต่อไปนี้คงต้องคิดใหม่ทำใหม่


 

 

"ไม่มีอะไรอยู่กับที่ ถ้าเราไม่หยุดเดิน"

ไม่มีอะไรถูกผิดครับ  ต้องดูให้เหมาะสม  เพราะการจัดแปลงผักรูปเกือกม้า หรือรูป mandala อาจไม่เหมาะสมกับการเก็บผักเชิงพาณิชย์แบบเดิมๆ  อาจจะต้องประยุกต์ให้คล้ายๆ กับรูปข้างล่าง


แต่ถ้าเป็นการทำสวนครัวเล็กๆ สำหรับทานเองในครอบครัว ก็คงไม่เป็นปัญหาอะไรรูปแบบไหนก็ได้

“Stupidity is an attempt to iron out all differences, and not to use them or value them creatively.”
― Bill Mollison

:embarrassed:

“Stupidity is an attempt to iron out all differences, and not to use them or value them creatively.”
― Bill Mollison

รับไว้พิจารณาค่ะ แต่ที่บ้านได้รดน้ำทุกวันก็ถือว่าต้นไม้โชคดีแล้ว :uhuhuh:

""

 

หน้า