เพอร์มาคัลเจอร์ : ปุ๋ยหมัก

หมวดหมู่ของบล็อก: 

มีคนเขียนบล็อกเรื่องวิธีการทำปุ๋ยหมักหลายท่านแล้ว  ผมคงไม่พูดถึงสูตรการทำปุ๋ยหมักอีก  แต่อยากให้เพื่อน สมช. เข้าใจว่าปุ๋ยหมักที่เราคิดว่าเหมือนกัน อาจจะไม่เหมือนกันซะทีเดียว

คำเตือน : ท่านอาจจะต้องคุ้นเคยกับชื่อสารเคมีบ้างในการอ่านบทความต่อไปนี้

พืชต้องการอาหารแบบไหน?

จากผลการศึกษาพบว่าพืชแต่ละประเภทมีความต้องการอาหารแตกต่างกัน  อาหารสำคัญอย่างหนึ่งของพืชคือไนโตรเจน  แต่พืชแต่ละประเภทชอบไนโตรในรูปแบบแตกต่างกัน โดยสรุปคือ

1. พืชประเภทผัก พืชล้มลุก (annual) และหญ้า โดยส่วนใหญ่ชอบไนโตรเจนในรูปแบบของไนเตรทไออน (NO3-)

2. ต้นไม้ ไม้พุ่ม และพืชยืนต้น (perrenial) ต่างๆ ชอบไนโตรเจนในรูปของแอมโมเนียไอออน (NH4+)

เมื่อศึกษาต่อไปเราจะเข้าใจมากขึ้นว่าเมื่ออาหารอยู่ในรูปแบบที่ย่อยง่าย เช่น น้ำตาล แบคทีเรียจะเจริญเติบโตได้เร็วกว่าเชื้อรา และขับถ่ายของเสียจากการย่อยอาหารในรูปของไนเตรท

ในขณะที่อาหารที่ย่อยยากอย่างแป้ง หรือเซลลูโรสจะไม่สามารถย่อยได้ง่ายโดยแบคทีเรีย  เชื้อราจึงสามารถเจริญเติบโตได้ดีกว่า และเชื้อราจะขับถ่ายของเสียจากการย่อยอาหารในรูปแบบของแอมโมเนีย

ผลการสำรวจประชากรของจุลินทรีย์ (จำนวนของแบคทีเรีย/โปรโตซัว และความยาวของเส้นใยของเชื้อรา) ในดิน 1 ช้อนชาจากสถานที่ต่างๆ เป็นดังนี้

  แปลงผัก ทุ่งหญ้า ป่า
แบคทีเรีย 100 ล้าน - 1,000ล้าน
100 ล้าน - 1,000ล้าน 100 ล้าน - 1,000ล้าน
รา/เห็ด หลายฟุต หลายสิบ - หลายร้อยฟุต
1 - 40 ไมล์
โปรโตซัว หลายพัน หลายพัน หลายแสน

ผลการสำรวจค่อนข้างยืนยันข้อสรุปก่อนหน้านี้  ทำให้เราต้องกลับมาพิจารณาว่าปุ๋ยหมักที่เราทำเพื่อใช้กับพืชแต่ละชนิดจะได้ผลดียิ่งขึ้นถ้าเรารู้จักปรับให้มีสัดส่วนของแบคทีเรีย และเชื้อราให้เหมาะสมกับชนิดของพืชที่เราจะเอาปุ๋ยหมักไปใส่

สัดส่วนของเชื้อราต่อแบคทีเรียของพืชแต่ละชนิดต้องการจะแตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น

ตัวอย่างพืช
เชื้อรา : แบคทีเรีย
แครอท, กะหล่ำปลี, บร็อคโคลี่ 0.3:1 - 0.8:1
มะเขือเทศ, ข้าวโพด, ข้าว 0.8:1 - 1:1
หญ้า 0.5:1 - 1:1
ต้นโอ๊ก, เมเปิ้ล 10:1 - 100:1
ต้นไม้ส่วนใหญ่ 10:1 - 50:1

โดยสรุปง่ายๆ พืชล้มลุกจะชอบดินที่มีแบคทีเรียมากกว่าเชื้อรา  ในขณะที่ต้นไม้ขนาดใหญ่น่าจะชอบดินที่มีเชื้อรามากกว่าแบคทีเรีย ในขณะที่มีพืชขนาดเล็กหลายชนิดชอบดินที่มีสัดส่วนของแบคทีเรียและปุ๋ยหมักพอๆ กัน

ทำอย่างไรถึงจะปรับสัดส่วนของเชื้อราและแบคทีเรียในปุ๋ยหมัก?

หากต้องการให้มีเชื้อรามากควรจะต้องทำดังนี้

  • เพิ่มสัดส่วนของวัสดุสีน้ำตาล เช่น ใบไม้แห้ง, เปลือกไม้, ชิ้นไม้สับ (wood chips), กิ่งไม้ขนาดเล็ก, ขี้ลีบข้าว, กากอ้อย, ขุยมะพร้าว, ซังข้าวโพด, รำ เป็นต้น
  • การย่อยวัสดุ (เช่น การทำ wood chips) จะช่วยเพิ่มพื้นที่ให้เชื้อราเจริญเติบโต  แต่ถ้าย่อยจนเล็กมากเกินไปจะทำให้แบคทีเรียเจริญเติบโตได้ดีกว่าเชื้อรา
  • ควบคุมค่าความเป็นกรดด่างให้อยู่ระหว่าง pH 5.5 - 7

หากต้องการแบคทีเรียมากควรจะต้องทำดังนี้

  • เพิ่มสัดส่วนของวัสดุสีเขียว เช่น เศษหญ้าสด, เศษใบไม้สด, เศษอาหาร, ฟางข้าว, ผักตบชวา, เปลือกถั่วและต้นถั่วสด, เศษวัชพืชต่าง ๆ, อุจจาระ เป็นต้น
  • ย่อยวัสดุให้เล็กมาก เช่น ใบไม้แห้งซึ่งเชื้อรามักจะเจริญเติบโตได้ดีกว่า แต่ถ้าป่นใบไม้แห้งจนเล็กมาก แบคทีเรียจะเจริญเติบโตได้ดีกว่าเชื้อรา
  • ควบคุมค่าความเป็นกรดด่างให้อยู่ระหว่าง pH 7 - 7.5 เมื่อค่า pH ต่ำ (เป็นกรด) มากเกินไปอาจจะช่วยด้วยการเติมปูนขาวเข้าไปเล็กน้อยเพื่อเพิ่มค่า pH
  • เพิ่มไส้เดือนในกองปุ๋ย (ปกติถ้ากองปุ๋ยไว้กับพื้นดิน ก็อาจจะมีไส้เดือนมาอยู่แล้ว)

 

หวังว่าเพื่อน สมช. คงจะพอได้แนวคิดในการปรับสูตรของปุ๋ยหมักให้เหมาะสมกับชนิดของพืชที่เราจะนำปุ๋ยหมักไปใช้งาน

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://my-experimental-farm.blogspot.com

ความเห็น

วิชาการมาก เรื่องปุ๋ยหมัก แดงไม่ได้คิดอะไรมาก ใส่ขี้ไก่ขี้วัว ให้ต้นไม้ผักโต แค่นั้นเองค่ะ แต่ขอบคุณสำหรับความรู้ค่ะ :beg:

"เชื่อในผล แห่งการทำความดี"

อย่างแดงกับพี่เวทย์สบายอยู่แล้ว ใบไม้แห้งที่ปกคลุมสวนยางอยู่ก็จะช่วยขยายเชื้อรา เป็นประโยชน์กับต้นยางนะครับ

“Stupidity is an attempt to iron out all differences, and not to use them or value them creatively.”
― Bill Mollison

ขอบคุณสำหรับความรู้ครับ  :cheer3:


 คนเลี้ยงดิน ดินเลี้ยงพืช พืชเลี้ยงคน

:bye: :bye:

“Stupidity is an attempt to iron out all differences, and not to use them or value them creatively.”
― Bill Mollison

พื้นที่ของหลายๆ คนเป็นพื้นที่โชคดี ปลูกอะไรก็แค่ใส่ปุ๋ยคอก มูลสัตว์แล้วก็ EM เพื่อให้ย่อยสลายได้สารอาหารของพืช ส่วนที่บ้าน Slowlife นี่ มีปัญหาตลอด ปุ๋ยก็ใส่ EM ก็รด แต่ปรากฏว่าไม่งาม บางทีมีดอก ดอกก็ร่วงก่อนติดฝัก บางที่ติดฝัก ก็แคระแกรนซะงั้น  ก็ต้องหาความรู้เพิ่มเติม เกี๋ยวกับธาตุอาหารรอง ธาตุอาหารเสริม ก็ค่อยๆ ปรับดินไป ส่วนจะได้ผลยังไง ก็ต้องคอยดูต่อไป เพราะเราไม่ได้ปลูกเป็นอาชีพหลัก ก็ทำไปแบบขำๆ งานอดิเรก แต่ถ้าปลูกหาเลี้ยงครอบครัว เป็นรายได้ได้หลัก อะไรแบบนี้ คงต้องเรียนรู้รายละเอียดอีกมากมายแหละค่ะขอบคุณสำหรับความรู้ค่ะ


ลองส่งดินไปตรวจที่สถานีพัฒนาที่ดินประจำจังหวัดสิครับ :cheer3:

“Stupidity is an attempt to iron out all differences, and not to use them or value them creatively.”
― Bill Mollison

อืม อ่านอะไร ๆ ที่เป็นวิชาการก็ปวดหัวจริง ๆ นิ จะเก็บไว้อ่านเมื่อหัวหายปวด อ่ะ 

ขอบคุณนะคะ :bye:

    

 

:cheer3: :cheer3:

“Stupidity is an attempt to iron out all differences, and not to use them or value them creatively.”
― Bill Mollison

ส่วนมากวิชาการ(เกษตรอำเภอและเกษตรตำบล)ไม่ทำสวน

เห็นด้วยครับ พวกที่ทำหลายคนก็ไม่รู้วิชาการ เลยต้องทำแบบลองผิดลองถูก พอได้ผลไม่ดีก็โทษผีโทษเจ้าอีก :cheer3:

“Stupidity is an attempt to iron out all differences, and not to use them or value them creatively.”
― Bill Mollison

หน้า